กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ประเภทที่ 2
รหัสโครงการ 63 – L7452 – 2 - 26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง)เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 14,584.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลซอมะ เจะหลง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) เทศบาลนครยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาพร่องทางโภชนาการในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาที่หลายคนมองข้าม ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคล ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่มีภาวะผอม เตี้ย เกิดจาการขาดสารอาหารเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่ำและเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเหมาะสม ถูกต้อง ภาวะพร่องทางโภชนาการผอม เตี้ย จึงเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อพัฒนาการตั้งแต่เริ่มแรกของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเรียนรู้ ภาวะโภชนาการจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในวัยเด็ก ซึ่งข้อมูลในระดับประเทศพบว่า เด็กไทยมีภาวะพร่องทางโภชนาการอ้วน ผอม เตี้ย เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่ไม่เหมาะสมตามวัย ตลอดจนค่านิยมในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสภาพสังคม พฤติกรรม ตลอดจนความใส่ใจและความตระหนักของผู้ปกครองในการให้เด็กรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ
การดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการถือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๑ บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ประกอบกับข้อมูลผลการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กประถมศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนเทศบาล 1 เทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีเด็กนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 275 คน พบว่า มีเด็กอ้วน จำนวน 5 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.8)เด็กผอม จำนวน 15 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.5) เด็กเตี้ย จำนวน 12 คน (คิดเป็นร้อยละ 4.4) เด็กสูงดีและรูปร่างสมส่วน จำนวน 177 คน (คิดเป็นร้อยละ 64.4) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนยังพบกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็ก ทั้งเด็กอ้วน ผอม และเตี้ย ซึ่งภาวะทุพโภชนาการของเด็กกลุ่มนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายได้ จากข้อมูลและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กอ้วน ผอม และเตี้ยดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านสะเตง) ขึ้น เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก เพื่อทำให้เด็กมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ และความสามารถของครู แม่ครัว นักเรียน และผู้ปกครองในการดูแลเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเข้าร่วมการอบรม
  2. ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น
0.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณภาพสามารถแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนให้มีรูปร่างดีสมส่วน
  1. ร้อยละ 80 นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถบริโภคตามหลักโภชนาการได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ จนส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการเด็กลดลง
0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและครอบครัวในการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการของนักเรียน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? ประชุมคณะทำงานโครงการ 0 450.00 -
??/??/???? ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและผลกระทบจากภาวะโภชนาการ 0 11,539.00 -
??/??/???? จัดกิจกรรมทางกายให้เด็กนักเรียน 0 0.00 -
??/??/???? ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลผู้ปกครอง พร้อมเชิดชูครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กผอมได้สำเร็จ 0 2,595.00 -
รวม 0 14,584.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนมีคณะทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักเรื่องภาวะโภชนาการ โดยหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จนส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการเด็กลดลง
    1. โรงเรียนมีข้อมูลปัญหา อุปสรรคเชิงลึกของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจากครูประจำชั้นและผลสำเร็จจากการทำโครงการ นำมาแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนแบบมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. โรงเรียนมีครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กได้สำเร็จ
  4. โรงเรียนมีเมนูอาหารที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ตามโปรแกรม Thai School Lunch และระบบการจัดการอาหารอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 15:46 น.