กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านม และปากมดลูกปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2482-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มี.ค. 2563 4 มี.ค. 2563 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5,000 ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก 7 คน/วัน เป็น 14 คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์  เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก  ร้อยละ 30 – 40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง  และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ได้ดำเนินการติดตามกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคเป็นประจำทุกปี กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีจำนวนมากกว่า 600 คน แต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบาสามารถดำเนินการคัดกรองได้เพียงร้อยละ 20 ต่อปี คือประมาณ 120 คนต่อปี (โดยมุ่งเน้นในกลุ่มที่ยังไม่เคยรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในรอบ 5 ปี) ยังคงมีกลุ่มเป้าหมายอีก ประมาณ 500 คนต่อปีที่ยังไม่ได้คัดกรอง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านม และปากมดลูก ในปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้นการตรวจ Pap Smear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม
30

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 - 60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา เข้าร่วมอบรมจำนวน 100 คน

0.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 - 60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

20.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องตน

สตรีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องตน

90.00
4 เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งพบแพทย์และรับการรักษาที่ถูกต้อง

สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งพบแพทย์

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 - 30 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ 0 10,000.00 10,000.00
รวม 0 10,000.00 1 10,000.00
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลสตรีอายุ 30-60 ปี ที่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
  2. สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีอายุ 30-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโคกมือบาจริงเปรียบเทียบกับคลังข้อมูล HDC เพื่อจัดทำทะเบียนสตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
  3. ผอ.รพ.สต.มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานหลัก สำหรับดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี
  4. จัดประชุม เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม .เพื่อชี้แจง แผนการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ประจำปี 2563
  5. จัดทำโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโฆษิต เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
  6. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา
  7. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ร่วมรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  8. จัดกิจกรรมสาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีอายุ 30 – 70 ปี
  9. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีอายุ 30 – 70 ปีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
  10. รพ.สต.บริการประสานและส่งต่อ สตรีที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการตรวจ และรักษาต่อตามลำดับขั้นตอนการรับบริการ
  11. สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน และสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนด้วยตนเองได้
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์กำหนด
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเมื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิด โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะรุนแรงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 09:37 น.