กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาเด็ก ๐-๕ ปีขาดรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L3045-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 24,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารอ มูหะมะสาเล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่กระทรวงได้บรรจุวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทยเราเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว โดยค่อยๆเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อยๆจนครอบคลุมโรคสำคัญแทบทุกโรคในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เด็กๆทุกคนล้วนต้องได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายร้างชนิดต่างๆเช่น โปลิโอ,คอตีบ,ไอกรน,วัณโรค,ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากโรคติดต่อเหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน บางโรคการติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า “การระบาด” ผลการระบาดแต่ละครั้งทำให้ผู้ติดเชื้อพิการ และเสียชีวิตจำนวนมาก ดั้งนั้นวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความสำคัญที่จะเป็นตัวป้องกันการเกิดโรคในอนาคตซึ่งแน่นอนที่สุดการป้องกันย่อมจะดีกว่าการรักษาในภายหลังการเกิดโรคไม่ว่าจะด้วยทฤษฎีทางการแพทย์หรือหลักการของศาสนาแทนที่จะให้เกิดโรคก่อนค่อยคิดหาวิธีหายาหาทางรักษาในภายหลังอาจจะเป็นสิ่งที่สายเกินไป หากเกิดโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สร้างความเจ็บป่วยทรมาน รำคาญใจและเสียเงินมากมายซึ่งไม่คุ้มค่าต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากมิได้รับภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการฉีดวัคซีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ เด็ก ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกายซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ ๘ ชนิดดังนี้ วัณโรค,ตับอักเสษบี,คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก, โปลิโอ,หัด และไข้สมองอักเสบซึ่งวัคซีนป้องกันโรคแต่ละตัวแต่ละชนิดควรได้รับตามช่วงอายุที่กำหนดและรับครบชุดตามเกณฑ์เมื่ออายุครบ ๕ ปี
    จากการประเมินผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๐-๒๕๖๒  ผลงานความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ ๗๘.๕๐, ๘๐.๖๐,๘๖,๙๐ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ๓ ปียังไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด คือ เด็กอายุครบปี ได้รับวัคซีนครบชุด คิดเป็นร้อยละ ๙๕ ยังเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขซึ่งที่ผ่านมาการแก้ไขรูปแบบเดิมยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง จึงจัดทำโครงการแก้ปัญหาเด็ก ๐-๕ ปี ขาดรับวัคซีนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กอายุครบ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปีและ ๔ ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ 2.เพื่อลดอัตราป่วยจาดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 24,150.00 3 24,150.00
24 ก.ค. 63 ประชุมเสริมสร้างความเข้าใจแนวทางในการพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 50 3,750.00 3,750.00
29 ก.ค. 63 - 4 ส.ค. 63 จัดกิจกรรมเชิงรุกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 150 14,400.00 14,400.00
7 ส.ค. 63 - 11 ก.ย. 63 ติดตามดำเนินการให้บริการวัคซีนแก่เด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 10 6,000.00 6,000.00

ขั้นดำเนินการ
๑. ประชุมเสริมสร้างความเข้าใจโครงการหาแนวทางในการพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แก่ ทีมเครือข่ายอาสาสมัครร่วมโครงการ ในการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2.รวบรวมข้อมูลประวัติการรับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 5 ปีและเด็กที่ไม่ได้วัคซีนตามเกณฑ์ จากรพ.สต.ปิยามุมัง     3.จัดทำทะเบียนประวัติการรับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในชุมชนทุกคน และวันกำหนดรับวัคซีนของเด็กแต่ละคน จำแนกตามละแวกการรับผิดชอบของอาสาสมัครแต่ละคน     4.ประชาสัมพันธ์โครงการ     ๕.จัดกิจกรรมเชิงรุกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับวัคซีนกับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน เพื่อปรับทัศนคติและลดความวิตกกังวลของผู้ปกครอง     ๖.ประสานดำเนินการให้บริการวัคซีนแก่เด็กอายุ 0 – 5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์     ๗.อาสาสมัครผู้รับผิดชอบละแวกติดตามประเมินผลเด็กอายุ 0-5 ปีที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ทุกเดือน พร้อมซักถามปัญหาอุปสรรค์ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด   ๘.อาสาสมัครสาธารณสุขผู้รับผิชอบละแวกประเมินการรับวัคซีนของเด็กในความรับผิดชอบ นำเสนอในที่ประชุมประจำเดือนของอาสาสมัครสาธารณสุข     ๙. รายงานผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานแต่ละเดือนให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุกเดือน     1๐.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปิยามุมัง   การประเมินผล 1.แบบทดสอบก่อน-หลัง การเสริมสร้างความเข้าใจ ความรู้ 2.แบบรายงานการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 0- 5 ปีของ รพ.สต

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและอาการข้างเคียงของวัคซีนหลังได้รับวัคซีนและนำบุตรหลานมารับวัคซีนตามนัดหมาย ๓. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนไม่มีในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 10:14 น.