กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยในโรงเรียน
รหัสโครงการ 60-L3335-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรรณศิกา สามารถ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.244,100.321place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร จึงควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ ที่สุด คือในวัยเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน โรงเรียนบ้านโคกทราย ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กในวัยเรียน ซึ่งมีความกระตือรือร้น และมีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี จึงได้จัดตั้งให้มี กลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค

ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค

2 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน

มีการจัดนิทรรศการ ด้านการบริโภค จำนวน1 ครั้ง

3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู อาจารย์ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นในโรงเรียนและชุมชน ให้ตระหนักในความปลอดภัยในการบริโภค และการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพผู้บริโภค

ร้อยละ 60 ของ นักเรียน ครู อาจารย์ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง มีส่วนร่วม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมครูที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. วางแผนดำเนินการ
  5. ดำเนินงานตามแผน 5.1 กิจกรรมการตรวจสอบด้านการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน 5.2 กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการเนื้อหาสาระด้านการสุขาภิบาลอาหารระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้และชีวิตประจำวัน 5.3 กิจกรรมรณรงค์อาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
  6. วัดผลประเมินผล
  7. สรุปผลและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
  2. สมาชิกของกลุ่มมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน และในชุมชนใกล้
  3. สมาชิกของชมรมสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร อย่างน้อยในเรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาวฟอร์มาลินได้
  4. นักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2560 09:18 น.