กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รู้ไต๋ รู้ใจ รู้เค้า รู้เรา ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3039-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 46,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวมารีนี มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.353place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกก็มีมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิต (Life style) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึกถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จึงจะสามารถป้องกันโรคได้   จากการลงพื้นที่คัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ขึ้นไปในตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2562 พบว่า มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีมากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวพบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ไม่ออกกำลังกาย กินคาร์โปไฮเดรตและไขมันเยอะเกิน สูบบุหรีจัด ภาวะเครียด ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ ก็คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิดสูง เบาหวาน ก็มัก จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคเหล่านี้มากกว่าคนปกติทั่วไป อีกทั้ง ในกลุ่มประชากรที่มีภาวะเสี่ยงสูง กลุ่มแฝง ถ้อไม่ได้รับการดูแล/รักษาอย่างต่อเนื่อง หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ได้ในอนาคต เนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานระยะแรกๆส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยรู้ตัว ดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมอง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ว่าเป็น "ภับเงียบ" หรือ "ฆาตกรเงียบ" นั่นเอง   ดังนั้น ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ตำบลปุลากง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ "รู้ไต๋ รู้ใจ รู้เค้า รู้เรา ปี 2563" ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการของโรค
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีระดับความดันโลหิต<140/90 มากกว่าร้อยละ 50 (ความดันคุมได้)
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือด(HbA1C < 7)>ร้อยละ 40 (เบาหวานคุมได้)
  3. เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการ<ร้อยละ 10
0.00
2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ
  1. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่<ร้อยละ 10
  2. อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ < ร้อยละ 20
  3. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตาม > ร้อยละ 80
  4. กลุ่มเสี่ยงความดันได้รับการติดตามและวัดความดันที่บ้าน > ร้อยละ 90
0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ลดการเกิดโรคจากการบริโภคอาหาร
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกบริโภคอาหารดีขึ้น > ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 46,640.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง "รู้ไต๋ รู้ใจ" อบรมให้ความรู้เรื่องการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,สมุนไพรกับโรคและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 40 11,540.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน "รู้เค้า รู้เรา" 50 22,750.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมแลกเลี่ยนเรียนรู้"เยาวชนรุ่นใหม่ กินดี อยู่เป็น ลดหวาน มัน เค็ม" (รู้เค้า/รู้เรา) 50 12,350.00 -
  1. จัดประชุมทีมสุขภาพ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อร่วมกันค้นหา แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง และโรคที่เกิดจากพฤติกรรม ในปีงบประมารที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามมัสยิด และในชุมชนทั้งตำบลปุลากง
  4. ดำเนินการตามกิจกรรมโครงการดังนี้ 4.1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง "รู้ไต๋ รู้ใจ" ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4.2 กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน "รู้เค้า/รู้เรา" 4.2.1 เรียนรู้ร่วมกัน "รู้เค้า/รู้เรา" ด้วยการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง เรื่องการกินอาหาร,รู้จักโรคและรู้จักประเมินตนเอง 4.2.2 ติดตามตรวจสุขภาพหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการนัดตรวจวัดความดันโลหิตสูงและเจาะระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 เดือน และ 6 เดือน 4.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "คนรุ่นใหม่ กินดี อยู่เป็นลดหวาน มัน เค็ม" (รู้เค้า/รู้เรา)ในกลุ่มแม่บ้าน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มนักเรียน
  5. ประเมินผลโครงการและสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและกองทุนตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนทั้งกลุ่มทั่วไป กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวที่เหมาะสม มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน/ความพิการของโรคในกลุ่มผู้ป่วยไม่ให้ลุกลาม หรือรุนแรงมากกว่าเดิม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 11:21 น.