กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ควบคุมโรคไข้มาลาเรียในชุมชน บ้านกม.26ใน
รหัสโครงการ 63-L8411-02-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกม.26ใน
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 19,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรูกีเย๊าะ ไพเราะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 227 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรีย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยจังหวัดยะลา พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขต ม.2 บ้านกม.26 ใน ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ ซึ่งเป็นพื้นที่ A1 มีการระบาดมากที่สุด ในปี 2562 พบผู้ป่วย จำนวน 31 ราย และพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนนอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย จึงทำให้โรคไข้มาลาเรียมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่ม ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงต้องมีการป้องกัน โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการพ่นสารเคมีตกค้างในบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรียจากปี62 ร้อยละ 20

 

0.00
2 ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง

 

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรียจากปี62 ร้อยละ 20

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์ ควบคุมโรคไข้มาลาเรียในชุมชนบ้านกม.26 ใน 227.00 19,900.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ภาคีเครือข่าย เช่น อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน และกลุ่มองค์กรต่างๆ
  3. จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์
  4. จัดกิจกรรรนณรงค์ ต้านภัยไข้มาลาเรีย ขอความร่วมมือประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรมดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ในชุมชนการเฝ้าระวังและป้องกันโรคล่วงหน้า ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย จัดกิจกรรม พ่นฝาผนังหรือสารเคมีกำจัดยุงก้นปล่อง ในหมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  5. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
  6. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลหลังสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนในหมู่บ้านกม.26 ใน มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้มาลาเรีย โดยมีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงร้อยละ20 จากปี 2562
3 มีการบูรณาการ ประสานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพ องค์กรในชุมชน ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้มาลาเรีย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 13:33 น.