กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยงลดโรค ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4119-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาลีเม๊าะ ยือเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.167,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำได้เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มโรคไม่ติดต่อนั้นคือ โรคเบาหวานและความดันซึ่งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีและยังพบผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จนถึงปัจจุบันถึงปี 2562   จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำ มีผู้ป่วยรายใหม่ทุกปีซึ่งจะส่งผลระยะยาวข้างหน้า หากไม่มีการป้องกันหรือควบคุมให้ดีและปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว 3 ราย จากการทดสอบความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพทั้งทางด้านการรับประทานอาหารและยา ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยยังขาดความรู้จึงส่งผลให้โลหิตสูง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสัมนาจากสหวิชาชีพทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักสุขศึกษาและโภชนาการ โดยเน้นให้ผู้ป่วยเบหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธี แบบพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งยามากเกินนความจำเป็นให้เป็นแบบยั่งยืน และนำไปพัฒนางานให้เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบครบวงจร ส่งเสริมให้ทีมงานสหวิชาชีพมีความสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบและเป็นต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ ทัั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีท่าน้ำให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโรหิตสูง มีความรู้ในเรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อพัฒนาและปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง

เพื่อพัฒนาและปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อพัฒนาแนวทางและระบบการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพครบวงจรโดยกระบวนการมีส่วนร่วม

เพื่อพัฒนาแนวทางและระบบการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพครบวงจรโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันได้ในเรื่องโรคความดัน
  2. ช่วยเตรียมกลุ่มเป้าหมายที่จะคัดกรอง และร่วมดำเนินการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วย
  3. มีทะเบียนผู้ป่วยรายโรค และแยกระดับผู้ป่วยในการรักษา ในเขต รับผิดชอบ ระดับ A (70-130) สีเขียว, B (131-180) สีเหลือง, C (181 ขึ้นไป) สีแดง
  4. ช่วยร่วมกิจกรรมดำเนินการตามแผนการรักษาของแพทย์ เป็นพี่เลี้ยงในการดุแลผู้ป่วย อย่างต่อเนื่องที่บ้าน
  5. ร่วมกิจกรรมสรุปผลการประเมินและปรับระดับคนไข้ที่มีระดับการดูแลสุขภาพดีขึ้น
  6. ให้ขวัญและกำลังใจผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมและมีผลการรักษาที่ดีขึ้น
  7. นำผลการจัดทำโครงการจัดทำสรุปรายงานผลแก่ผู้บังคับบัญชาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ ตระหนัก รวมทั้งสามารถประเมินภาวะสุขภาพในเรื่องการป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้
  2. บุคลากรในชุมชน (อสม./ผู้ดูแล) มีความรู้และสามารถคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดัน ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้ป่วยมีความรู้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ยืดระยะเวลาการมีภาวะแทรกซ้อนหรือการเกิด ภาวะแทรกซ้อนลดลง
  4. มีระบบการดำเนินการโรค เบาหวาน/ความดัน แบบครบวงจร โดยชุมชนมีส่วนร่วม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 14:56 น.