กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเกษตรกร ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4282-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาง
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 20 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาวรรณ ศรีสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2563 11 มี.ค. 2563 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น     ตำบลโฆษิต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่ จากผลการดำเนินงาน ของปี 2562 พบว่า มีเกษตรกรที่ได้รับการเจาะเลือด จำนวน 100 คน พบมีความเสี่ยง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 พบไม่ปลอดภัย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกยาง ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และเพื่อเป็นการสนับสนุนงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเกษตรกร ประจำปี 2563 ในพื้นที่ ม.1 บ้านสะหริ่งและ ม. 5 บ้านปลักปลา ตำบลโฆษิต ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบสารเคมี และให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

เกษตรกรที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

100.00
2 เพื่อให้มีการจัดบริการสุขภาพ เฝ้าระวังและคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุก

มีการจัดบริการสุขภาพ เฝ้าระวังและคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกในพื้นที่

0.00
3 เพื่อให้เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชมีความรู้ และความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชมีความรู้ และความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมให้ความรู้ และเจาะเลือดหาสารเคมีในเลือดในกลุ่มเสี่ยง 0 10,000.00 10,000.00
รวม 0 10,000.00 1 10,000.00
  1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์โครงการตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรในชุมชน
  2. จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม.และเกษตรกร ในการประเมินความเสี่ยงทางกายและจิต
  3. มีการประเมินความเสี่ยงทางกายและทางจิตของเกษตรกร โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1 และแบบประเมินความเครียด ST-5
  4. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ
  5. ให้บริการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช โดยจัดหาชุดตรวจการแพ้พิษสารกำจัดศัตรูพืช และกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส
  6. จัดบริการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการให้คำแนะนำ
  7. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน
  8. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมี
  2. เกษตรกรได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด
  3. ลดการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2563 10:11 น.