โครงการเหาหายสบายหัว
ชื่อโครงการ | โครงการเหาหายสบายหัว |
รหัสโครงการ | 63-L4119-2-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต |
วันที่อนุมัติ | 8 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางแวมารียะห์ จารู |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เหา เป็นแมลงกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคน และดำรงอยู่ด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศรีษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นปรสิตที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศรีษะ เหาที่เกาะอยู่บนส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือ โลน โดยเหาแต่ละชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียง 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศรีษะ เหาที่เกาะอยู่ที่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือโลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อาทิเช่น บนศรีษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักจะพบได้จากคนที่เป็นเหา คือ อาการคัดหรือเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศรีษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เห็นเป็นจุดขาวๆ ตามเส้นผมแถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากที่สุดในกลุ่มเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา จากการตรวจสุขภาพประจำวันของเด็กประจำปี 2562 ในโรงเรียนบ้านนิคนสร้างตนเองธารโต พบว่า เด็กผู้หญิงเป็นเหาจำนวนมาก โดยเฉลี่ยจำนวนร้อยละ 30 ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศรีษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหนะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดยใช้ตัวยาเป็นแชมพูสมุนไพรแบบอ่อนโยนและการใช้หวีกำจัดเหา ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน ดังนั้นผู้จัดทำโครงการ เหาสบายหัว ขึ้นในโรงเรียนโดยเริ่มจากกลุ่มเด็กอนุบาลจนถึงเด็กชั้นประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนรู้จักดูแลรักษาความสะอาดของร่ายกายได้ถูกต้อง ลดปริมาณของนักเรียนของนักเรียนที่เป็นโรคเหาทำให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนผู้หญิงที่เป็นโรคเหาโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตได้รับการกำจัดเหาที่ถูกต้อง นักเรียนผู้หญิงที่เป็นโรคเหาโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตได้รับการกำจัดเหาที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนและทำกิจกรรมอย่างมีความสุข นักเรียนผู้หญิงที่เป็นโรคเหาในโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตมีสมาธิในการเรียนและทำกิจกรรมอย่างมีความสุข ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดีและบุคลิกภาพที่ดี นักเรียนโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตมีสุขอนามัยที่ดีและบุคลิกภาพที่ดี ร้อยละ 80 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ประชุมวางแผนการจัดทำโครงการ
- เสนอโครงการเพื่อการอนุมัติ
- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
- ดำเนินงานตามโครงการ 4.1 จัดประชุมคณะครูที่เข้าร่วมโครงการ 4.2 ส่งแบบฟอร์มกำจัดเหาให้คุณครูประจำชั้นเพื่อสำรวจหานักเรียนที่เป็นโรคเหา 4.3 จัดซื้อยากำจัดเหาและอุปกรณ์ 4.4 จัดทำหนังสือเชิญผู้ปกครองให้เข้าร่วมโครงการเหาหายสบายหัวเพื่ออบรมวิธีดูแลรักษาร่างกายให้สะอาดและวิธีการดูแลรักษาโรคเหาร่วมกับนักเรียนที่เป็นโรคเหา 4.5 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหาร่วมกับนักเรียนที่เป็นโรคเหา 4.6 สาธิตวิธีการกำจัดเหาให้แก่นักเรียนพร้อมทั้งชี้แจงผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การกำจัดเหาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 4.7 แจกแชมพูกำจัดเหาและอุปกรณ์ให้ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การกำจัดเหาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 4.8 จัดบอร์ดนิทรรศการการดูแลรักษาโรคเหา 4.9 แกนนำอนามัยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหาหน้าเสาธงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 4.10 ประเมินผล สรุปและรายงานผลโครงการ
- นักเรียนผู้หญิงที่เป็นโรคเหาโรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตได้รับการกำจัดเหาที่ถูกต้อง
- นักเรียนมีสมาธิในการเรียนและทำกิจกรรมอย่างมีความสุข
- นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดีและมีบุคลิกภาพที่ดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2563 13:11 น.