กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุ (โรงเรียนมีสุขผู้สูงวัยตำบลเขาตูม)
รหัสโครงการ 63-L3027-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ, ชมรมผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2563
งบประมาณ 41,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแน่งน้อย ชูเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 41,000.00
รวมงบประมาณ 41,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากมาย ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของ สังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่ สังคมมาแล้วมากมาย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องเล็งเห็นและให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดุแลผู้สูงอายุให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกายดี เป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อาศัยอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๖ ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ) มาตรา ๖๗ (๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบล เพื่อ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุสามารถทำคุณประโยชน์ต่อสังคมควบคู่ไปกับลูกหลานคนรุ่นหลัง และเป็นแบบอย่าง การใช้ชีวิตให้แก่ลูกหลานในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ (กลุ่มติดสังคมและกลุ่มติดบ้าน)

ร้อยละของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดสังคมมีการพัฒนาตนเอง เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

70.00
2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ร้อยละของผู้สูงอายุได้พัฒนาสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ของตนเองได้อย่างดี

70.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้อายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

ร้อยละของผู้สูงอายุได้พัฒนาตนเองสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชนและสังคม

70.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการยอมรับจากชุมชน สังคม ให้เป็นที่ประจักษ์

ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการยอมรับจากชุมชน และสังคม

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 41,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ส่งเสริมทักษะวิชาชีพ วิชาการ วิชาชีวิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 0 41,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีทักษะการดูแลตัวเองให้มีความสุข ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ ลดภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพกายและใจ
  2. ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน และดูแลอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยสหวิชาชีพ อสม. อผส.
  3. ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุห่วงใยไม่ทอดทิ้งกันมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน
  4. ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  5. ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจดี ห่างไกลโรคซึมเศร้า
  6. ร้อยละ80 ของผู้สูงอายุ เป็นแกนนำดำเนินกิจกรรมในชุมรม ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2563 16:48 น.