กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (2-4 ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง
รหัสโครงการ 63-L1523-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 17,285.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีย์ ดำมีศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววิมลรัตน์ นวลนิ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๕๔ กำหนดหน้าที่ของรัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยรัฐต้องดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่จัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ตามมาตรา 16 (๙) ในด้านการจัดการศึกษา และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ตามมาตรา 50 (6)  ให้ราษฎรได้มีการศึกษาอบรม
  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นสถานศึกษา ตามมาตรา 4    ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบส่งเสริมและสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดู        จัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ให้เด็กเล็กมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อศักยภาพในการจัดการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อตั้งแต่ก่อนระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง การมีพัฒนาการที่สมวัยนั้นถือได้ว่าเป็นคุณภาพชีวิตประชากรอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชากรวัยเด็กช่วงอายุ 2-4 ปี นั้นถือได้ว่าเป็นช่วงวัยแห่งการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยเรียนอย่างเป็นทางการตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ      โดยเด็กในช่วงวัยดังกล่าวมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านสมอง ร่างกาย อารมณ์และจิตใจที่สามารถเป็นปัจจัยสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเรียนรู้ในอนาคต
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลองในปัจจุบัน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีการส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพอนามัยของเด็กเป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากถ้าเด็กมีสุขภาพอนามัยดีแล้ว เด็กก็จะมีความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีการจัดกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับสุขภาพให้กับเด็ก ผู้ปกครอง และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี และรวมทั้งจัดสถานที่อนามัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคต่างๆ และบันทึกพัฒนาการ คัดกรองสุขภาพประจำวัน ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเห็นว่าในการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้น ควรที่จะต้องมีการติดตาม ประเมินผล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาเฝ้าระวัง หาวิธีการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างหลากหลาย จึงต้องการที่จะนำหลักการเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย (DSPM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาดังกล่าว เนื่องจากคู่มือ DSPM เป็นคู่มือที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก รวมถึงอสม. ใช้เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของลูกหลานอย่างใกล้ชิด หากสงสัยล่าช้าก็สามารถแก้ไขส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยตามคำแนะนำในคู่มือ DSPM นี้ได้ทันที ประกอบกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่มุ่งให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยความยั่งยืน การปลูกฝังปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้เรียน จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป้าหมายการสอนเด็กปฐมวัยมีจุดเน้นหรือมาตรฐานหลักอยู่ที่การพัฒนาทางร่างกาย การเคลื่อนไหว การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรงว่องไว รวมถึงพัฒนาสมอง เพื่อให้มีพัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจตามวัย พัฒนาจิตใจ ให้เด็กสามารถช่วยเหลือแบ่งปัน ทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักมีน้ำใจ และรู้จักให้อภัย ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรัก ความเมตตาต่อมนุษย์และสัตว์ รู้แพ้รู้ชนะ มากกว่าเน้นเรื่องวิชาการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง จึงเห็นว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นได้เน้นให้มีโครงการบูรณาการด้านอาหาร โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย ผู้จัดทำโครงการจึงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมตามวัยโดยนำการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ร่วมกับแบบประเมินเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เพื่อให้ครู และผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย รับรู้วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยรวมถึงผลกระทบจากพัฒนาการล่าช้า และส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการตามวัย มีความพร้อมในการศึกษาระดับสูงต่อไปได้ด้วยดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑) เพื่อให้ครู และผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ๒) เพื่อให้ครู และผู้ปกครองรับรู้วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการตามวัย

(๑) ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (๒) ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายรับรู้วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (๒) ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการตามวัย

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 184 17,285.00 0 0.00
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ และการรับรู้ปัญหา โดยใช้กระบวนการกลุ่ม 46 2,950.00 -
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย 46 990.00 -
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 3 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ 46 1,595.00 -
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ 46 11,750.00 -
  1. ระยะเตรียมการดำเนินโครงการ

- ศึกษาข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลองและศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านนาเมืองเพชร - ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการการส่งเสริมสุขภาพพัฒนาของเด็ก - กำหนดกลุ่มเป้าหมาย - เขียนโครงร่างโครงการ
- ขออนุมัติโครงการ 2.ระยะการดำเนินโครงการ 2.1 ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
2.2 พบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้าดำเนินการส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ประตำบลในเขตรับผิดชอบ       2.3 ดำเนินกิจกรรมตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ และการรับรู้ปัญหา โดยใช้กระบวนการกลุ่ม - บรรยายพร้อมสื่อประกอบการบรรยาย ได้แก่ power point สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ผลกระทบจากพัฒนาการล่าช้า วิธีการใช้งานคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) โดยวิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอสิเกา
-ร่วมวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า - ร่วมสรุปอภิปรายประโยชน์ของการเฝ้าระวังและส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กิจกรรมที่ 2 การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกิจกรรมกลุ่มย่อย -ระบุวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ -ร่วมอภิปรายกลุ่มโดยให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอ กิจกรรมที่ 3 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ -วางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยกระบวนการกลุ่มระดมความคิดเพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย -ดำเนินการตามแผนส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และร่วมกันจัดบริบทศูนย์เด็กเล็กให้เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐม -กิจกรรม “สวนผัก ส่งเสริมพัฒนาการ” กิจกรรมที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ - การกำกับติดตาม และสอบถามปัญหาอุปสรรคหลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
  จำนวน 3 ครั้ง ในเดือนที่ 1 2 และ 3
- เดือนที่ 4 กิจกรรมกีฬาพัฒนาการเป็นเลิศ - มอบเกรียติบัตร หนูน้อยสดใส พัฒนาการเป็นเลิศ
- ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังเข้าร่วมโครงการ โดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริม
พัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) - กระตุ้นพัฒนาการในเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการไม่สมวัย หากพบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ ไม่สมวัยให้ดำเนินการส่งต่อไปยัง คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐม ณ โรงพยาบาลตรัง 3.ระยะประเมินผล 3.1 ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3.2 ประเมินการสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการร่วมวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า 3.3 ประเมินการตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติโดยการร่วมกำหนดวางแผนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จนกระทั้งนำไปสู่การปฏิบัติได้
3.4 ประเมินการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพโดยการติดตามพัฒนาการเด็กปฐมโดย กิจกรรมกีฬาพัฒนาการเป็นเลิศ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครู และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น 2.ครู และผู้ปกครองรับรู้ผลกระทบพัฒนาการล่าช้า และตระหนักและให้ความสำคัญถึงการส่งเสริม
  พัฒนาการเด็กปฐมวัยมากขึ้น 3.ครูและผู้ปกครองรับรู้วิธีการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง และสามารถปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน 4.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 09:08 น.