กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าถึงชุมชนดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 63-L2996-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านนอก
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุพงษ์ ชำนิไพบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.812,101.479place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 66 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้น้อย วอ๔ีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนไป เกิดพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม ออกกำลังกายน้อยลง ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคเรื้องรังที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ คือ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 860.53 ส่วนโรคเบาหวานพบประมาณ 3 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 675.74 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2562) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก พบว่าโรคเรื้อรัง 2 อันดับโรคแรก คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่สามารถทำให้อาการทุเลาลง โดยรับการรักษาต่อเนื่อง ในปี งบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอกอำเภอปะนาเระ มีประชาชนซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนแลวจำนวน 199 ราย (ร้อยละ 4.72) และรับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก จำนวน 8 ราย และโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 379 ราย (ร้อยละ 9) และรับยาต่อเนื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก จำนวน 58 ราย ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้งหมดในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอกเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และเกิดโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็ว ทั่วถึง และต่อเนื่อง ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค และลดความแออัดผู้ป่วยที่รับยาโรคเรื้องรังของโรงพยาบาลปะนาเระ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก เห็นความสำคัญจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยรับยาต่อเนื่อง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วย ที่มารับยาโรคเรื้อรังที่ รพสต.บ้านนอก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม หรือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูง ปรับพฤติกรรมให้การทำงานของไตดีขึ้น มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

ร้อยละ 20 ของผู้ป่วย ที่มีภาวะไตเสื่อม หรือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูง สามารถปรับพฤติกรรมให้การทำงานของไต้ดีขึ้น มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการรักษาตรวจเท้าโดยเจ้าหน้าที่ ปีละ 1 ครั้ง

ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 30 คน ได้รับการรักษาตรวจเท้า โดยเจ้าหน้าที่ ปีละ 1 ครั้ง และผู้ป่วยเบาหวาน สามารถดูแลเท้าด้วยตยเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงผู้นำท้องถิ่นและอสม. รายละเอียดกิจกรรม
- 2 มีนาคม 2563 ประชุมชี้แจงและอบรมให้ความรู้ รายละเอียดโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการทำงานแก่ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข
- งบประมาณ ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท 62 คน เป็นเงิน 3,100 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท 2 มื้อ 62 คน เป็นเงิน 3,100 บาท กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยและกระบวนการทำงานของโครงการ รายละเอียดกิจกรรม - จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มป่วยที่โรงพยาบาลส่งกลับมารับยาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ รพ.สต.บ้านนอก ผู้ดูแล และอสม. ทั้ง 6 หมู่บ้าน ตำบลบ้านนอก จำนวน 188 คน อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ช่วยลดความดันดลหิตสูงและน้ำตาลในเลือด โดยปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
หมู่ที่ 3 วันที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.00 น. หมู่ที่ 4 วันที่ 20 มีนาคม 2563 เวลา 08.30 -16.00 น. หมู่ที่ 5 วันที่ 27 มีนาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.00 น. หมู่ที่ 6 วันที่ 3 เมษายน 2563 เวลา 08.30 - 16.00 น. หมู่ที่ 1 วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.00 น. หมู่ที่ 2 วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.00 น. - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท จำนวน 190 คน เป็นเงิน 9,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท 2 มื้อ จำนวน 190 คน เป็นเงิน 9,500 บาท - ค่าวิทยากร 1,000 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าไวนิล 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งคลีนิกใกล้บ้านใกล้ใจ รายละเอียดกิจกรรม
- จัดตั้งคลีนิกใกล้บ้านใกล้ใจต้นแบบนำร่องในชุมชน หมู่ 6 บ้านปูตะ 1 แห่ง ลงตรวจที่คลีนิกในชุมชน 3 ครั้ง วันที่ 13 มีนาคม 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น. วันที่ 12 มิถุนายน 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น. และวันที่ 19 กันยายน 2563 เวลา 08.30 - 12.00 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้
- พยาบาลและ อสม.จะลงให้บริการในชุมชน แจกบัตรคิวค้นหาแฟ้มประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันดลหิตและเจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจรักษา จ่ายยา
- ให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายคน - ลงบันทึกในทะเบียนและสมุดประจำตัวดรคเรื้องรัง เครือข่ายโรงพยาบาลปะนาเระ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดิ่ม 25 บาท 1 มื้อ 32 คน 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในคลีกนิกชุมชน 1. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล 1 เครื่อง 3,000 บาท 2.เครื่องวัดความดันโลหิตแบบตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง 3.000 บาท 3.เครื่องเจาะ DTX 1 เครื่อง 3,500 บาท 4.ไวนิล 1 ป้าย 1,000 บาท 5.อุปกรณ์ สื่อการสอน และอื่นๆ 5,000 บาท งบประมาณทั้งสิ้น 46,100 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยา รพ.สต.บ้านนอกทุกคนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคแทรกซ้อน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้องสมำ่เสมอ สามารถกลับสู่ภาวะปกติมากว่าร้อยละ 20 และกลุ่มเสี่ยงทุกคนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
  3. อัตราการเกิดโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่รับยา รพ.สต.บ้านนอกไม่เกินร้อยละ 5
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 09:40 น.