กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูๆฟันดีศรีบ้านขาว ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5222-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 31,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี คงไข่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.761,100.247place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กไทยเป็นปัญหาที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนประถมศึกษา ซึ่งเป็นวัยของการวางรากฐานที่สำคัญของชีวิต ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการด้านอื่นๆ (พจนารถ พุ่มประกอบศรี, 2558) จากรายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่า อัตราการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ3 ปี,5ปี และ 12 ปีมีอัตราผุสูงถึงร้อยละ 42.03, 78.5 และ 52.3 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันน้ำนม (dmft) และฟันแท้ (DMFT) เท่ากับ 4.4 และ 1.3 ซี่ต่อคน โดยภาคที่มีโรคฟันผุมากที่สุดคือภาคใต้ พบว่า เด็กอายุ 5 และ 12 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ของฟันน้ำนม (dmft) และฟันแท้ (DMFT) เท่ากับ 5.0 และ 1.1 ซี่ต่อคน (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2556) นอกจากนี้ยังพบว่า ในเด็กอายุ 12 ปี มีสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 50.3 มีปัญหาเลือดออกและมีหินน้ำลาย คิดเป็นร้อยละ 29.6 และ 20.7 ตามลำดับ (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2556) โรคในช่องปากส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิต ดังนั้นการให้บริการด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูโรคในช่องปากจึงมีความจำเป็น ซึ่งในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา พบว่าปัญหาโรคในช่องปากพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่ 18 เดือน และในเด็ก 3 ปีเป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 42.03, 51.51, 49.27, 40.7 และ 43.32 ในปี 2557, 2558, 2559, 2560 และ 2561 ตามลำดับ  ในเด็ก 12 ปีมีอัตราการเกิดฟันแท้ผุร้อยละ 40.5, 37.66, 19.80, 22.11 และ 24.47 ในปี 2557, 2558, 2559, 2560 และ 2561
แม้ในภาพรวม การคงอยู่ของฟันในช่องปากจะเพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มอายุ และมีการให้บริการทันตกรรมมากขึ้น เพิ่มการเข้าถึงของประชาชน แต่จากการสำรวจทุกครั้งพบว่าปัญหาช่องปากยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา มี ข้อมูลจากการสำรวจค่าฟันผุ ถอน อุด (DMFT) ในเด็ก 12 ปี อยู่ที่ระดับ 0.7 ซี่/คน ในปี 2558 0.66 ซี่/คน ในปี 2559 0.68 ซี่/คน ในปี 2560 และ 0.49 ซี่/คน ในปี 2561
และในพื้นที่ตำบลบ้านขาว พบว่ากลุ่มอายุ 6-12 ปี มีการเกิดโรคฟันผุ เฉลี่ย 1 ซี่/คน ทีค่าฟันผุ ถอน อุด(dmft) เท่ากับ 1.52 ในปี 2561 (ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.สต.บ้านขาว, 2561) ซึ่งปัญหาโรคฟันผุดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต และการเรียน ดังนั้นฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากให้กับประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กปฐมวัยและกลุ่มเด็กวัยเรียน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อลดปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่ม 3-5 ปีและกลุ่ม 6-12 ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เด็ก 3-5 ปี และ เด็ก 6-12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก 2. เด็ก 3-5 ปี และ เด็ก 6-12 ปี ได้รับการการเคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่ ร้อยละ 50 3. เด็ก 6 ปี ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ ต้องยึดติดสมบูรณ์ 4. เด็ก 3-5 ปี และ เด็ก 6-12 ปี มีการแปรงฟันตอนเที่ยงทุกวัน
  1. ร้อยละ 50 ของเด็ก 3-5 ปี และ เด็ก 6-12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก
  2. ร้อยละ 50 ของเด็ก 3-5 ปี และ เด็ก 6-12 ปี ได้รับการการเคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่ ร้อยละ 50
  3. ร้อยละ 75 ของเด็ก 6 ปี ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ ต้องยึดติดสมบูรณ์
  4. ร้อยละ 90ของเด็ก 3-5 ปี และ เด็ก 6-12 ปี มีการแปรงฟันตอนเที่ยงทุกวัน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 31,270.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 ตรวจช่องปากเด็กวัยเรียน ให้ทันตสุขศึกษาและสอนทำความสะอาดช่องปาก บริการเคลือบหลุมร่องฟันเด็ก อุดฟัน ขูดหินปูน และกิจกรรมเที่ยงวันฟันดี 200 31,270.00 -

1.การเตรียมการ 1.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและรับทราบวิธีการดำเนินการร่วมกัน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน 1.4 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.5 จัดทำแผนขออนุมัติออกปฏิบัติงาน 1.6 จัดทำหนังสือแจ้งโรงเรียน 1.7 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ 1.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและรับทราบวิธีการดำเนินการร่วมกัน 2.การดำเนินการ 2.1ตรวจช่องปากเด็กวัยเรียน ให้ทันตสุขศึกษาและสอนทำความสะอาดช่องปาก ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันในเด็ก ป.1 อุดฟัน ขูดหินปูนนักเรียนที่มีปัญหาโรคในช่องปากที่โรงเรียน เคลือบฟลูออไรด์ในนักเรียนทุกคน และนัดมารับบริการตามความจำเป็นที่ รพ.หรือ รพ.สต.
2.2 จัดกิจกรรมเที่ยงวันฟันดีในนักเรียนทั้งศูนบ์พัฒนาเด็กเล็กและนักเรียนในโรงเรียน 3. ระยะสรุปผล           3.1 รวบรวมข้อมูล           3.2 สรุปผลการดำเนินงาน           3.3 รายงานการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พัฒนาคุณภาพและรูปแบบการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุ 3-5 ปี และ 6-12 ปี ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างแท้จริง

  2. เกิดความร่วมมือระหว่างสถานพยาบาลของรัฐ (โรงพยาบาลระโนดและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว) โรงเรียนในเขตตำบลบ้านขาว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนให้เกิดระบบการจัดบริการด้านทันตกรรมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 09:42 น.