กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ประชาชนปลอดภัย
รหัสโครงการ 63-L5222-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขาว
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี คงไข่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.761,100.247place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
      กระทรวงสาธารณสุข ย้ำจุดยืนยุติการใช้ 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อ 22 ตุลาคม 2562 ชี้มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน พร้อมประกาศให้ “ปี 2563 เป็นปีแห่งเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรปลอดโรค ประชาชนปลอดภัย” เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย ความห่วงใยของกระทรวงสาธารณสุขกรณี 3 สารเคมีอันตรายทางการเกษตร” ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเสต และคลอไพริฟอส กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชน สารเคมีที่ใช้ไม่ได้เกิดอันตรายเฉพาะตัวเกษตรกรผู้ใช้ที่เกิดจากการสัมผัส แต่ยังส่งผลต่อเนื่องไปยังผู้บริโภค เพราะสารเคมีจะแพร่ลงในดิน แหล่งน้ำ ผัก-ผลไม้ที่ปลูกจะมีสารเคมีอยู่ภายในเนื้อเยื่อ และมีผลทางการแพทย์ชัดเจนว่าสามารถดูดซึมเข้าไปในร่างกายทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ได้       ตำบลบ้านขาวเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ทำไร่ ทำนาปี ทำนาปลัง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูง จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่จำนวนมาก ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางรายการเป็นสารต้องห้าม ประชาชนยังขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรที่ใช้ยาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด 2.เพื่อให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารเคมีปนเปื้อนแก่เกษตรกร 3.ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อบริโภค

1.เกษตรกรและประชาชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมโครงการได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือดและเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคน  ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยชาชงรางจืด 2.เกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารเคมีปนเปื้อนแก่เกษตรกร ร้อยละ 80
3.ผู้เข้าร่วมโครงการ ปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรีย์ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 22,700.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยง 100 6,100.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้ เพื่อลดสารเคมีปนเปื้อน 100 16,600.00 -

1.ระยะเตรียมการ 1.  1.1 ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ     1.2 จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน   1.3 จัดทำทะเบียนสำรวจเกษตรกร   1.4 เตรียม เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง   -การคัดกรองสุขภาพตามแบบฟอร์ม นบก.1-56   -การตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส   1.5 ประสานผู้นำชุมชน อสม.ในพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 2.ระยะดำเนินการ   2.1 ดำเนินการคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย ดังนี้   - การออกสำรวจคัดกรองสุขภาพเกษตรกร ตามแบบคัดกรองความเสี่ยงในเกษตรกร   - ตรวจสอบความถูกต้องของแบบคัดกรอง เพื่อประเมินความเสี่ยง
  - แยกกลุ่มประชากรตามแบบคัดกรอง แบ่งเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง   2.2 การเจาะเลือดเกษตรกลุ่มเสี่ยง เพื่อตรวจหาระดับสารเคมีในเลือด สรุปผลการตรวจเลือดให้ประชาชนได้ทราบผลการตรวจ หากตรวจพบว่าปกติ เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการดูแลพฤติกรรม สุขภาพ หากตรวจพบอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยรางจืด   2.3 จัดคลินิกสุขภาพเกษตรกรใน รพ.สต. โดยเน้นให้มีมุมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกษตรเกษตรและการใช้สมุนไพรรางจืด เพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย   2.4 อบรมให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนสารเคมีแก่เกษตรกร
      2.5 ติดตามเยี่ยมดูแลเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง นัดตรวจสุขภาพซ้ำภายใน 3 เดือน 3.ระยะสรุปผล   3.1 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน   3.2 ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนที่ถูกวิธี
2.เกษตรกรที่ใช้ยาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความรู้และเปลี่ยนมาใช้การปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ 3.เกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยรางจืด มีระดับสารเคมีในเลือด เกณฑ์ปกติและปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 09:54 น.