กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคลองหรัง ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5205-2-xx
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางช่วงทิพย์ ขาวคุ้ง
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั่งแต่ 5-15 ปี รองลงมา คือ เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุด้วย และเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้อย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการตัดวงจรการเติบโตของยุงลายโดยการทำความสะอาด เก็บ กวาด ไม่ให้มีภาชนะที่มีน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และยังเป็นการลดจำนวนของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลคลองหรัง ต่อไป     ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา (1 มกราคม – 3 ธันวาคม 2562) ที่ผ่านมานั้นมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย และผู้ป่วยด้วยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา จำนวน 3 ราย ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือในการควบคุมโรคโดยยั่งยืนต่อไป     กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับรพ.สต.บ้านแม่เปียะ ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมจัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคลองหรัง ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ “โรคไข้เลือดออก” และเพื่อลดความเสี่ยงของประชาชนในการติดต่อของโรคไข้เลือดออก ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา

อัตราการเกิดไข้เลือดออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาในชุมชนลดลงร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา

ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน

ลูกน้ำยุงลาย และยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ถูกกำจัดและมีปริมาณลดลงร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 137 30,000.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 137 30,000.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมหารือร่วมกับ (สาธารณสุขอำเภอนาหม่อม, รพ.สต.บ้านแม่เปียะ, องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง,โรงพยาบาลนาหม่อม, ผู้นำหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน) 1.2 จัดทำโครงการฯ เสนอประธานกองทุน 1.3 จัดทำแบบปฏิบัติการตามโครงการ 1.4 ประสานงาน ชี้แจง โรงการฯ แก่กลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง 1.5 ประสานงานชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ แก่สมาชิก อบต. ผู้นำชุมชนในตำบล และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการ (ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ) ในตำบลคลองหรัง 2.2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สำรวจภาชนะเสี่ยง และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพพร้อมใส่ทรายอะเบทในชุมชน โดยผู้นำชุมชน คณะผู้บริหาร สมาชิก อบต. อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ นักเรียน ครู และทีมงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลคลองหรัง 2.3 สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยวิธี 5 ป. 1 ข. ทุกวันพฤหัสบดี     การป้องกันโรคในสถานการณ์ปกติ ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลคลองหรัง พ่นหมอกควัน ก่อนเปิดภาคเรียน 1 สัปดาห์ ทุกเทอม ในวัด สำนักสงฆ์ในพื้นที่ตำบลคลองหรัง พ่นหมอกควัน 4 ครั้ง/ปี แต่ละครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์     การควบคุมโรคในกรณีมีผู้ป่วย ในกรณีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคลองหรัง ออกดำเนินการควบคุมโรคโดยการพ่นหมอควัน ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์และจ้างเหมาการพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่
  3. ขั้นประเมินผล 3.1 ติดตามการดำเนินงานตามโครงการฯ สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดดออกและไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาลดลง 2.ประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก และไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา 3.จำนวนลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคในบ้าน ชุมชน โรงเรียนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 10:30 น.