กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4282-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาง
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 20 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาวรรณ ศรีสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2563 11 มี.ค. 2563 20,250.00
รวมงบประมาณ 20,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อน เป็นที่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ปรากฏอาการที่ผิวหนังและเส้นปราสาทส่วนปลาย การดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อเส้นปราสาทถูกทำลายทำให้เกิดความพิการที่ตา มือ และเท้าได้ จากการที่องค์การ อนามัยโลก ได้กำหนดให้ความชุกของโรคเรื้อนที่ไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขต้องต่ำกว่า 1 ต่อหมื่นประชากร ประเทศไทยได้ดำเนินการโครงการป้องกันควบคุมโรคเรื้อนได้สำเร็จ จนไม่เป็นปัญหาในระดับประเทศ แต่จากข้อมูล ปี 2558 – 2552 พบว่า จังหวัดนราธิวาส ยังมีอัตราความชุกมากกว่า 1 ต่อหมื่นประชากร และ พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อนในเกือบทุกอำเภอ ในปี 2562 อำเภอตากใบ พบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.35 ต่อหมื่นประชากร
จากข้อมูล ปี 2562 ไม่พบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่เขตตำบลโฆษิต แต่มีผู้ป่วยที่กินยาไม่ครบอีก จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.81 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโรคเรื้อนยังคงแพร่ระบาดและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของรพ.สต.บ้านโคกยาง ยังมีโอกาสแพร่ระบาดได้ในชุมชน โดยเฉพาะ ผู้สัมผัสใกล้ชิด ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ก็จะมีโอกาสทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น การกระจายของโรคจะกว้างขึ้น และหากผู้ป่วยหรือผู้มีเชื้อในกระแสโลหิต ไม่ได้รับการรักษา ก็จะส่งผลให้เกิดความพิการทางร่างกาย ดังนั้น ปัญหาโรคเรื้อนจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคักรองค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ประจำปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและองค์กรในชุมชน เป็นเครือข่าย และมีความรู้ ความเข้าใจสามารถค้นหา และคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ได้

ประชาชน ในพื้นที่ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อนทุกราย

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกระยะ ได้รับการรักษาต่อเนื่อง

ผู้ป่วยโรคเรื้อนทุกระยะ ได้รับการรักษาต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,250.00 2 20,250.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมเชิงปฏิบัติการ 0 7,500.00 7,500.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์ตรวจค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ 0 12,750.00 12,750.00
  1. ชี้แจงผู้รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้อง
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดหาวิทยากร, สถานที่ และอื่นๆ
  3. กำหนดพื้นที่จัดประชุม, แจ้งผู้เข้าร่วมประชุม
  4. ดำเนินการประชุม
  5. จัดทำป้ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ
  6. ประชาสัมพันธ์การรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในหมู่บ้านและชุมชน
    • จัดนิทรรศการในสถานบริการและชุมชน แจกเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
    • เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น หอกระจายข่าว มัสยิด เสียงตามสาย ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน
  7. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนให้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป
  8. ให้บริการตรวจผู้ป่วยโรคผิวหนังเพื่อค้นหาโรคเรื้อน
  9. ให้บริการบำบัด/รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน โดยจัดตั้งคลินิกให้บริการ ณ โรงพยาบาลตากใบ
  10. ให้บริการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านทุกราย
  11. ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้าน/ชุมชนและโรงเรียน
  12. ติดตามและดูแลผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนทุกรายและผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีความพิการ
  13. ให้บริการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเฝ้าระวัง
  14. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนและองค์กรในชุมชน เป็นเครือข่ายในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อยรายใหม่ มีความรู้และความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีต่อโรคเรื้อน สามารถถ่ายทอดความรู้และมีทักษะในการคัดกรองเบื้องต้นได้ ตลอดจนมีความตระหนักและให้ความร่วมมือในการค้นหาผู้ป่วย ติดตามการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 10:50 น.