กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง
รหัสโครงการ 63-L5205-1-xx
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่เปียะ
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,505.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีระศักดิ์ กั้งเหล้ง
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 196 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑2 ประจำปี พ.ศ. ๒๕6๐ – ๒๕64 นโยบายด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนว่าพัฒนาให้คนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ มีจิตสำนึกสุขภาพที่ดี และมีการคัดกรอง พฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเองผ่านช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมให้คนมีกิจกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยทั้งรูปแบบการออกกำลังกายโภชนาการที่เหมาะสม และสนับสนุนให้ชุมชนมีการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา

    นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การให้ผู้เข้ารับบริการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา หรือปฏิบัติตนเพื่อให้หายจากโรคภัยด้วยตนเองเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทพฤติกรรมสุขภาพจาก “เชิงรับ” มาเป็น “เชิงรุก” โดยไม่ได้จำกัดอยู่ที่วิธีใดวิธีหนึ่ง หากแต่ครอบคลุมถึงการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา และการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อย่างสมดุลมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี  ไม่มีความเครียด        มีสติสัมปชัญญะ และความคิดอ่านตามควรแก่อายุ  ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่จะก่อเกิดสุขภาวะที่ดี แต่ด้วยเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข      และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประเทศไทย แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยเบาหวานปีละ 2 หมื่นคน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง ร้อยละ 21.4 ซึ่งร้อยละ 50 ของผู้เป็นเบาหวานไม่ทราบว่าตนเองมีเบาหวาน จากการคัดกรองประชากรในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านแม่เปียะ ปีงบประมาณ ๒๕6๓ คัดกรอง 1,790 คน พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 5.5 และกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็น ร้อยละ 17.0 หมู่บ้านที่พบกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือ หมู่ 5 บ้านต้นปริง กลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 45 คน กลุ่มเสี่ยงความดัน 111 คน ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ  และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม     เมื่อสถานีอนามัยได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อตอบสนองต่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการบริหารและดำเนินกิจกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ดูแลคนไม่ใช่แค่ดูแลโรค มีการปรับปรุงระบบบริการให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น รวมถึงการครอบคลุมพื้นที่ในเขตเทศบาลและ อบต. ให้ประชาชนได้รับการบริการที่เท่าเทียม จากนโยบายและสถานการณ์โรคดังกล่าว รพ.สต.บ้านแม่เปียะจึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยน เลี่ยงเบาหวานความดัน” เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ได้รับการวินิจฉัย ไม่สูญเสียโอกาสในการป้องกันและรักษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมากขึ้น

แบบทดสอบก่อน/หลัง ให้ความรู้ กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมากขึ้น ร้อยละ 70

70.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลง

ค่าน้ำตาลและความดันโลหิตหลังอบรม 1 เดือน

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังที่เหมาะสม

การปฏิบัติวิธีออกกำลังกายถูกต้องเหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 196 15,505.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 196 15,505.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.ร่วมปรึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.ชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ 3.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง 4.ประสานงานกับหน่วยงานวิทยากร ผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ 5.แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 6.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร สื่อประชาสัมพันธ์ในการดำเนินการกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 1.ลงทะเบียน/ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต DTX BMI และรอบเอว 2.ทำโมเดล “ต้นไม้สุขภาพ” / ทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้
3.วิทยากรให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 2 ส. โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 4.ทำแบบทดสอบหลังได้รับความรู้ 5.ติดตามกลุ่มเสี่ยงในทุก 3 เดือน/ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หลังการอบรมกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เพิ่มมากขึ้น 2.หลังการอบรม 1 เดือน ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันลดลง 3.หลังการอบรม กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังที่เหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 11:42 น.