กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง
รหัสโครงการ 63-L5205-3-xx
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 40,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาพร ชูเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 40,850.00
รวมงบประมาณ 40,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต บุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูให้เด็กเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป หากเด็กในวัยนี่ได้รับความรักความอบอุ่นและการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับวัย มีการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัยรวมถึงอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ บุคคลรอบข้างให้ดูแลเอาใจใส่ สร้างความมั่นคง ปลอดภัยแก่เด็ก ย่อมส่งผลให้เด็กวัยนี้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิต ใจ สังคม และสติปัญญา พร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นประชากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป     อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการถือเป็นปัจจัยหลักต่อการเจริญเติบโตและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย แต่ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี่ คือ ภาวะการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามวัย โรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน ขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางเกิดจาการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูด้วยนมแม่ลดลง การให้เด็กรับประทานอาหารตามวัยเร็วเกินไป ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ในความเป็นจริงเด็กวัยนี้ต้องมีความพร้อมในการพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน แต่จากแบบประเมินผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในปีการศึกษา ๒๕๖๒ จำนวนนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ทั้งหมด ๑๕๔ คน พบว่า มีนักเรียนที่น้ำหนักส่วนสูง จำนวน ๑๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ๘๓ มีนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑ มีนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗และในอนาคตปัญหาจะเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและเป็นไปตามวัย จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆสู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบล คลองหรังที่มีความเสี่ยงและภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ

นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง จำนวน16  คน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการ

100.00
2 เพื่อให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบล คลองหรังมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย

นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง จำนวน16 คน  มีน้ำหนัก  ส่วนสูง  เส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข

100.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็กเล็ก 0-5 ปี

ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง  จำนวน 16 คน  มีความรู้  ความเข้าใจด้านโภชนาการเด็กเล็ก  0-5  ปี

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 16 40,850.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 16 40,850.00 -
  1. ประชุมครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณ
  3. ดำเนินการตามโครงการ 3.1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ละแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0- 5 ปีของกรมอนามัย 3.2 จัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน ๑๖ คน 3.3 จัดอาหารเสริมให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการให้ได้รับอาหารที่เหมาะสม 3.4 ติดตามประเมินชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก0-5 ปี หลังอบรม 1 เดือนๆละ 1 ครั้ง (ตลอดโครงการ)
    3.5 ประเมินผล สรุปผลและรายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่มีความเสี่ยงและมีภาวะโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย
  3. ผู้ปครองนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็กเล็ก 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 13:45 น.