กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ปี 2563 เขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ปี 2563 เขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ 63-L7487-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกาญจนา เอกพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุธา รุกขพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และกลุ่มที่มีอาการของโรคเบาหวานแล้วไม่สามารถควบคุมได้ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคไต รวมถึงแผลบริเวณเท้าที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งยากต่อการดูแลรักษา ส่งผลให้กลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตลดลงและกระทบต่อสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวตามมาและส่งผลถึงภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและจากข้อมูลการสำรวจพบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากร 15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ21.4ในปี2552เป็นร้อยละ24.7 ในปี 2557พฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น คือการกินเค็ม(เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่าคนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย10.8 กรัมต่อวัน(โซเดียม 5,000มิลลิกรัม)ซึ่งสูงกว่าความต้องการร่างกายควรได้รับถึง1เท่าคือควรบริโภคเกลือไม่เกิน5กรัมต่อวัน(โซเดียม 2,400มิลลิกรัม) เมื่อพิจารณาข้อมูลสถิติของโรงพยาบาลตากใบพบว่า ในเขตพื้นที่ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสในปี2562มีผู้ที่เป็นเบาหวาน ขึ้นทะเบียนรับการรักษา 866ราย จากการดูแลผู้ป่วยซึ่งจัดกลุ่มตามระดับความรุนแรงของโรค พบผู้ป่วยคุมได้ดี(ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ย≤7 mg/dl) จำนวน 289คนคิดเป็นร้อยละ 33.37มีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ขึ้นทะเบียนรับการรักษา 2,063 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน 397 คน คิดเป็นร้อยละ 24.29มีภาวะแทรกซ้อน(โรคหัวใจหลอดเลือดสมองไตตาเท้า) 136คนร้อยละ 27.69 และจากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลตากใบ ระหว่างเดือนตุลาคม 2561– มีนาคม 2562จำนวน 10,051 คน พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องการไม่ออกกำลังกาย/ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.08 รองลงมาคือชอบรับประทานอาหารเค็ม ชอบทานอาหารหวาน ชอบทานอาหารมัน มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ และพฤติกรรมดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 23.85, 19.42, 12.32, 2.63 และ0.71 ตามลำดับ และประชาชนยังไม่ตระหนักในการมาพบแพทย์ตามนัด อัตราผู้ป่วยขาดนัดมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการทบทวนผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการพบว่าส่วนใหญ่ขาดนัด ขาดยา ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตไม่ได้ ทำให้เกิดเป็นโรคแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิต จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทีมดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลตากใบได้เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ให้มีความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับโรค และมีการติดตามผู้ป่วยขาดยา ขาดนัดให้เข้าถึงการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ปี ๒๕63 เขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองรวมทั้งสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตระหนักถึงภาวะเจ็บป่วยและอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน 3.เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองและสร้างเครือข่ายทางสังคมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเพื่อพัฒนาแกนนำขยายกลุ่มลงสู่ชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๒. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กลุ่มเป้าหมายทราบรายละเอียดกิจกรรมและนัดวันเข้าร่วมโครงการ     3. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยขาดนัดทุกเดือนและส่งต่อให้พื้นที่ติดตาม     4. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนโดยใช้เครื่องมือปิงปองจราจรชีวิต 7 สี จำนวน 3 ครั้ง - ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลัก 3อ2ส - ให้ความรู้การลดเค็ม ลดโรค ลดการบริโภคโซเดียม - สาธิตเมนูอาหารที่เหมาะสมกับโรคและการปฏิบัติตัวเพื่อลดบริโภคโซเดียม - ส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการใช้ผ้าขนหนูและอื่นๆโดยนักกายภาพบำบัด - มอบรางวัลแด่บุคคลตัวอย่างที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคได้
5. ติดตามเยี่ยมบ้านรายที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้และผู้ป่วยขาดนัด 6. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองรวมทั้งสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตระหนักถึงภาวะเจ็บป่วยและอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน 3.เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 14:33 น.