กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตพิชิตซึมเศร้า
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสายใจ สังห์รัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.511,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง (Shives, L. R., 2012) เช่นเดียวกับ วาทินี สุขมาก (2557) กล่าวถึงลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี ว่าเป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีทั้งในสถานการณ์ที่ปกติและไม่ปกติและสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ผิดปกติ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด (จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวัลลภา คชภักดี, 2551) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบ แก่งแย่งแข่งขัน ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับ
ทั้งนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ได้เน้นให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ อย่างได้มาตรฐาน เสมอภาคและเท่าเทียมกัน การป้องกันหรือลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง มีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 3,990 คน จากการการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตเวชในชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน 13 คน (ข้อมูลจาก โปรแกรม JHCIS ณ วันที่ 17 มกราคม 2563) และจากการคัดกรองภาวะซึมเศร้าของประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป พบว่ามีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 0.13 จากสถานการณ์และความสำคัญดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง จึงได้พิจารณาจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้เป็นอย่างดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 15 ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า
2.กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต 3.กลุ่มเสี่ยงมีความสามารถในการปรับอารมณ์ และมีสุขภาพจิตที่ดี 4.กลุ่มเสี่ยงสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 14:42 น.