กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 2563-L3317-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านควนดินแดง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านควนดินแดง
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านควนดินแดง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.716,99.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 ได้มุ่งเน้นระบบสุขภาพแบบพอเพียงส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การบำบัดรักษาความเจ็บป่วยด้วยการแพทย์แผนไทยซึ่งการแพทย์แผนไทยเป็นกรรมวิธีทางภูมิปัญญาที่อิงความเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยอีกทั้งยังเป็นการรักษาความเจ็บป่วยแบบองค์รวมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้านสุขภาพที่ประชาชนสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการรักษาพยาบาลการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการเฝ้าระวังโรคในการบำบัดรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทยได้ใช้วิธีการอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น การใช้ธรรมชาติบำบัดการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การรับประทาน การดื่มน้ำ การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมการลดน้ำหนัก เป็นต้น เพื่อลดรงกระทำที่ข้อเข่า ให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความเจ็บป่วยและเป็นการลดการใช้ยาแผนปัจจุบันที่มากเกินความจำเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ป่วยสามารถนำกลับไปปฏิบัติใช้ที่บ้านเพื่อดูแลสุขภาพตนเองได้     ทุกชุมชนต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิต สืบทอดโดยคน รุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค ซึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพร การนวดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เป็นต้น  ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ประกอบกับพื้นที่หมู่ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีหมอพื้นบ้านด้านสมุนไพร 1 คน หมอพื้นบ้านด้านการนวด 2 คน หมอตําแย 1 คน ประชาชนในพื้นที่มีการปลูกสมุนไพร อย่างน้อย 5 ชนิด จำนวน 72 หลังคาเรือน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง จึงจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์แผนไทย และมุ่งพัฒนางานแพทย์แผนไทยให้ครบวงจร ตามแผนการขับเคลื่อน Service plan สาขาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ผสมผสาน ให้มีคลินิกบริการแบบครบวงจรที่ให้บริการทั้ง 4 มิติ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค การฟื้นฟูสภาพ มีการตรวจรักษาทางเวชกรรม มีการใช้ยาสมุนไพร การนวด การอบสมุนไพร การประคบสมุนไพร และเพื่อเป็นการรักษาส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูแลสุขภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในชุมชน รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทยก่อนและหลังเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20

1.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรและมีความรู้ในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรและมีความรู้ในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ก่อนและหลังเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20

1.00
3 เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้เรื่องสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้เรื่องสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 25,900.00 0 0.00
16 ม.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 . จัดทำสวนสมุนไพร ณ รพ.สต.บ้านควนดินแดง ตำบลดอนทราย เพื่อการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากสมุนไพร 30 15,010.00 -
1 พ.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 จัดกิจกรรมให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ ฝึกทำการยาสมุนไพร ไว้ใช้บำบัดโรคเบื้องต้น 30 10,890.00 -
  1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.1 ขั้นเตรียมการ
    • ประชุมชี้แจงต่อผู้นำชุมชน ประชาชน แพทย์พื้นบ้าน ปราชญ์ชุมชน ด้านสมุดไพรในชุมชน
    • จัดหา วัสดุอุปกรณ์
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.2 ขั้นดำเนินงาน
    • จัดทำสวนสมุนไพร ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนดินแดง       - จัดเตรียมอุปกรณ์ รับบริจาคพันธุ์พืชสมุนไพรจากชุมชนเพื่อนำมาปลูก และจัดซื้อพันธ์พืชสมุนไพรเพิ่มเติม     -ดำเนินการจัดทำสวนสมุนไพรพร้อมป้ายชื่อของสมุนไพร และสรรพคุณแต่ละชนิด       -จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการฝึกทำยาสมุนไพร ไว้ใช้บำบัดโรคเบื้องต้น       -จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้และฝึกการทำยาหม่องสมุนไพรไว้ใช้บำบัดโรคเบื้องต้น       -ส่งเสริมสุขภาพอบรมให้ความรู้การฝึกมณีเวชเพื่อป้องกันโรค
      1.3 ขั้นหลังดำเนินงาน
    • ประเมินผลโครงการ
    • สรุปผลโครงการ
    • นำเสนอผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย     2. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรและมีความรู้ในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์     3. ประชาชนมีแหล่งเรียนรู้เรื่องสวนสมุนไพรสาธิตจำนวน 1 แห่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 15:08 น.