กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพฟันดีในชุมชนเปาะเส้ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสายใจ สังห์รัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.511,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานทันตสาธารณสุข ที่ได้ดำเนินงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นงานด้านรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยทั่วไป  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านรู้จักกันดีนั้นนับว่าเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการดำเนินงานในชุมชน ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันงานสาธารณสุขพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นการดูแลควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน การชั่งน้ำหนักประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-6 ปี การดูแลติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ การติดตามเยี่ยมดูแลหญิงหลังคลอด ตลอดจนผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต้องดำเนินการทั้งสิ้น จะขาดแต่งานด้านทันตสาธารณสุขเท่านั้นที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีส่วนร่วมน้อยมากจากแนวความคิด ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง จึงจัดทำโครง...เพื่อต้องการที่จะบูรณาการงานด้านทันตสาธารณสุขเข้าเป็นหนึ่งในภารกิจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องทำ โดยการพัฒนาศักยภาพให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ด้านทันตสาธารณสุข เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำ และตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้ พร้อมทั้งมีระบบรายงานให้สถานบริการทราบอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเช่นเดียวกับรายงานอื่นๆของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขในการออกปฏิบัติงานในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการออกตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน การเยี่ยมบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการให้บริการด้านทันตกรรมทั้งเชิงรุก และเชิงรับ ตลอดจนเกิดเครือข่ายในการดูแลสุขภาพช่องปากประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการ
    1. เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
    3. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน
    4. รณรงค์การตรวจฟันให้ประชาชนในชุมชนทุกกลุ่มวัย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำนักเรียน มีศักยภาพในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในชุมชน 2.ผู้นำนักเรียน มีศักยภาพในการดำเนินงานทันตสาธารณสุขในในโรงเรียน 3.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผู้นำนักเรียน มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง 3.ผู้นำนักเรียน มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง 4.เกิดการให้ความร่วมมือในการค้นหา และแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากในชุมชนระหว่างสถานบริการ และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกิดชมรมรักษ์ฟัน 5.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำนักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพช่องปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 15:11 น.