โครงการร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย สร้างความร่วมใจของชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการร้านชำคุณภาพ ผู้บริโภคปลอดภัย สร้างความร่วมใจของชุมชน |
รหัสโครงการ | 63-L1464-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนธานี |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายพนม วงศ์เทพบุตร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.512,99.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน ในการนี้ รพสต.ควนธานีเล็งเห็นว่า การพัฒนาร้านขายของชำในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำคุณภาพผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภคและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยาและเครื่องสำอาง |
80.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ประกอบการ้านชำสามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ถูกต้อง ใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย และไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ |
80.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาร้านชำให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้านชำพัฒนาเกณฑ์คุณภาพ |
60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 19,600.00 | 2 | 19,600.00 | 0.00 | |
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 12,900.00 | ✔ | 12,900.00 | 0.00 | |
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 | ตรวจและพัฒนาร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน | 10 | 6,700.00 | ✔ | 6,700.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 60 | 19,600.00 | 2 | 19,600.00 | 0.00 |
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลร้านชำ ในพื้นที่ตำบลควนธานี 1.2 จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการ 1.3 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้ 2.3 ขอความร่วมมือร้ายขายของชำในการไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย 2.4 ประเมินความรู้หลังให้ความรู้ 2.5 ตรวจและพัฒนาร้านชำตามเกณฑ์มาตรฐาน 2.6 มอบป้ายร้านชำคุณภาพ 2.7 ตรวจติดตามหลังการพัฒนาร้านชำปีละ 1 ครั้ง ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล
ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย มีภูมิคุ้มกัน มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ ส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ได้ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 11:12 น.