กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านหาดทรายร่วมใจคืนคลองน้ำใส สู่การจัดการ ขยะอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 61-l5257-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครญาลานันบารู
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2017 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2018
งบประมาณ 143,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายมะสาและ ยูโซ๊ะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 2 นายนาซูสี หะยีกาจิผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3.นายลาซี มามุ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4.นางแวตีเยาะ สารีกามา ประธานกลุ่มสตรี 5นายอาแด่ ลูโบะยาเซ็งกลุ่มสภาเด็กและ เยาวชน
พี่เลี้ยงโครงการ นงสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.559,101.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 260 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านหาดทรายหมู่ที่ 6 บ้านหาดทราย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 400 เมตร และเป็นหมู่บ้านต้นน้ำของแม่น้ำเทพา เป็นชุมชนชนบท มีจำนวน 260 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,100 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกๆปี ทำให้การใช้ปริมาณทรัพยากรเพิ่มขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนสาเหตุจากคนในชุมชนยังขาดการความรู้มีพฤติกรรมทิ้งขยะไม่เป็นที่เมื่อฝนตกน้ำได้พัดเอาขยะลงไปในแหล่งน้ำ ทำให้เกิดน้ำเสีย และไม่มีความสวยงามบริเวณแหล่งน้ำตกของชุมชน ตลอดจนชุมชนไม่มีระบบการบริหารการจัดการขยะที่ถูกต้องทั้งในครัวเรือนและชุมชนทำให้มีปริมาณขยะในชุมชนเพิ่มขึ้นจำนวนมากตลอดจนขยะที่ทับถมกองอยู่ในพื้นที่ชุมชนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงหวี่ ฯลฯจากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวทำให้แกนนำชุมชนเกิดแนวคิดให้การดำเนินโครงการฯ เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ประกอบด้วย 1) กลุ่มแกนนำชุมชนที่เป็นทางการกลุ่มผู้นำธรรมชาติจำนวน 36คน 2) กลุ่มเด็ก เยาวชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ จำนวน.43 คน3) กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 100 คน4) เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหาดทราย3 คนทั้งนี้ความคาดหวังของการดำเนินโครงการฯนำไปสูความสำเร็จในการลดปัญหาขยะ และให้เด็กเยาวชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองนำไปสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยง และสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ มีความเข้าใจในการจัดการขยะอย่าถูกต้อง

1 ร้อยละ 70 คนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในระดับครัวเรือนและชุมชน 2 ร้อยละ 70 คนมีส่วนร่วม มีความตระหนักในการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง

2 2.เพื่อให้สภาพแวดล้อมในชุมชนมีความสะอาด

1.ปริมาณขยะลดลง 2.ชุมชนมีความสะอาด 3.พื้นที่แม่น้ำ ลำคลองมีความสมบรูณ์

0.00
3 3.เพื่อให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง และแก้ไขปัญหายาเสพติด

1.ร้อยละ 80เยาวชนสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของของชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ในการดำเนินงานโครงการฯ ใช้ระยะเวลา 1 ปีและมีการขับเคลื่อนตามแผนงานโครงการ /กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยในแต่ละแผนงานดังนี้ กิจกรรมหลัก 1.จัดตั้งคณะกรรมการในการขับเคลื่อนโครงการขยะ
กิจกรรมย่อย 1.1.จัดประชุมรับสมัครแกนนำชุมชนมาเป็นคณะทำงานโครงการประกอบด้วย ประกอบด้วย ผู้นำทางการ เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา กลุ่มสตรี ครูโรงเรียน ตาดีกา กลุ่มเด็ก เยาวชนกลุ่มเสี่ยงพร้อมกำหนดโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำ ในการทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ
1.2.คณะกรรมการโครงการประชุมประจำเดือน เดือนละ1ครั้ง 12 ครั้งต่อปี 1.3คณะกรรมการโครงการจัดเวทีประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ และเปิดรับสมัครครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ กิจกรรมหลัก 2 สำรวจและเก็บข้อมูลชุมชน กิจกรรมย่อย 2.1คณะทำงานโครงการร่วมออกแบบเก็บข้อมูลชุมชน 2.2.ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะในพื้นที่บ้านหาดทรายโดยทีมสภาผู้นำ กลุ่มเด็ก เยาวชนกลุ่มเสี่ยงโดยแบ่งกลุ่มสำรวจเป็นโซนบ้านระยะเวลา7 วัน 2.3.จัดประชุมวิเคราะห์ข้อมูลขยะที่ได้จากการสำรวจ โดยทีมสภาผู้นำ เด็ก เยาวชน และสำนักงานปลัดระยะเวลา 1 วัน 2.4.จัดเวทีคืนข้อมูลขยะในวันประชุมสภาสันติสุขตำบล ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบข้อมูลสถานการณ์ขยะเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนการจัดการขยะ กิจกรรมหลักที่ 3จัดอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ
กิจกรรมย่อย
3.1 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะให้กับครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในโครงการ จำนวน260 ครัวเรือนโดยจะเชิ วิทยากรจากเทศบาลนครยะลา และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหาดทรายมาให้ความรู้และฝึกการคัดแยกขยะ จำนวน 1 วัน พร้อมทั้งมอบถุงกระสอบสำหรับนำไปใช้ในครัวเรือน
กิจกรรมหลักที่ 4 จัดทำมาตรการกติกาของชุมชน
4.1 จัดทำข้อตกลงในการคัดแยกขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยคณะกรรมการโครงการ
4.2 จัดทำไวนิว ประชาสัมพันธ์ กฎกติกาชุมชน จำนวน..2. ป้ายขนาด 1.5x2 เมตรโดยติดในพื้นที่ชุมชน เช่น มัสยิด โรงเรียน
กิจกรรมหลักที่ 5จัดตั้งธนาคารขยะ กิจกรรมย่อย
5.1.จัดประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารธนาคารขยะและจัดซื้อขยะจากครัวเรือน
5.2 เยาวชนกลุ่มเสี่ยง จัดซื้อขยะรีไซเคิลจากครัวเรือน ผ่านธนาคารขยะ สัปดาห์ละ.1 วัน โดยใช้จุดป้อม ชรบ.เป็นที่ทำการ 5.3 จัดรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในโครงการในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ส่วนกลาง เช่น บริเวณคลองหาดทราย น้ำตกบ้านหาดทรายกุโบร์ มัสยิด โรงเรียนตาดีกาฯลฯจำนวน 2 ครั้งในระยะ 1ปี 5.4 เยาวชนกลุ่มเสี่ยงร่วมจัดทำหลุมขยะให้กับกลุ่มโซนบ้านให้กับชุมชน จำนวน 7 หลุมกว้าง.....4....เมตร ยาว..4 เมตร ลึก 1.5 เมตรเพื่อเป็นที่ทิ้งขยะทั่วไป กิจกรรมหลักที่6 ติดตามและประเมินผล กิจกรรมย่อย 6.1 สภาผู้นำ ร่วมกับเด็ก เยาวชนกลุ่มเสี่ยง ลงพื้นที่ติดตามประเมินครัวเรือนในการคัดแยกขยะ จำนวน..260 ครัวเรือน ระยะเวลา2 เดือน/ครั้งเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการคัดแยกขยะ ครัวเรือนไหนมีการคัดแยกอย่างถูกต้องจะได้รับรางวัลครัวเรือนต้นแบบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
6.2สภาผู้นำจัดเวทีสรุปบทเรียนการทำงานโครงการและมอบรางวับครัวเรือนต้นแบบ ในวันปิดโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปริมาณขยะลดลง 2.สภาผู้นำมีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนโครงการฯได้ 3.เยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการพัฒนาศักยภาพสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และชุมชน 4.เกิดการมีส่วนร่วม ความสามัคคีของคนในชุมชน 5.ชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบลดแหล่งเพาะพันธ์สัตว์นำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงหวี่ ฯนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2017 15:27 น.