กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 63-L2996-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 17 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุพงษ์ ชำนิไพบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.812,101.479place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคชิคกุนคุนยาและไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาทั้งในเขตเมืองและชนบท สถานการณ์ของโรคมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล สภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ในรอบปี ๒๕62 ตำบลบ้านนอกมีผู้ป่วยด้วยโรคชิคกุนคุนยาทั้งสิ้น 59 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1386.28 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอำเภอปะนาเระมีผู้ป่วยเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ มีผู้ป่วยทุกหมู่บ้านในตำบลบ้านนอก โดยการกระจายตัวของโรคพบมากในหมู่บ้าน  ปุลามายอ ปูตะ, บ้านนอก, เกาะ, ทุ่งใหญ่, อัตราป่วยเท่ากับ 2439.02 , 832.47 , 803.21 , 501.88 , 378.79 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 13 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 15 - 24 ปี,25 - 34 ปี,5 - 9 ปี,10 - 14 ปี, 45 - 54 ปี, 0 - 4 ปี,65 ปี ขึ้นไป และ 55 - 64 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 10,9,8,7,5, 3, 2 และ 2 ราย ตามลำดับ  อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 20 ราย รองลงมาคือ  อาชีพงานบ้าน,  อาชีพรับจ้าง,  อาชีพนปค.,  อาชีพค้าขาย,  อาชีพอื่นๆ,  อาชีพครู,  อาชีพทหาร/ตำรวจ  อาชีพราชการ,  อาชีพบุคคลากรสาธารณสุข,  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 11,11,8,5,1,1,1,1 ราย ตามลำดับ  และจากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้เน้นการกำจัดและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยใช้มาตรการ ๕ป+๓ร และเสริมด้วยมาตรการอื่นๆ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของชุมชน กลวิธีซึ่งสามารถดำเนินการได้ระดับหนึ่งแต่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ตามเป้าหมายวัตถุประสงค์และขาดความต่อเนื่อง
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก ได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคชิคกุนคุนยาและโรคไข้เลือดออกโดยการดำเนินการควบคุมโรคทันทีและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคชิคกุนคุนยาและโรคไข้เลือดออกขึ้นโดยการให้ความรู้แกนนำนักเรียน จัดกิจกรรมรณรงค์ Big cleaning Day และการกำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และประชาชนในตำบลบ้านนอกปลอดภัยจากโรคชิคกุนคุนยาและโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระแสการทำลายแหล่งเพาะพันะ์ยุงในชุมชนและโรงเรียน

ค่า HI CI (ดัชนีความชุกลูกน้ำในบ้าน)

0.00
2 ลดอัตราป่วยด้วยโรคชิคกุนคุนยาและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

อัตราป่วยลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน   ๑. จัดซื้อเครื่องพ่นยุงและน้ำยาพ่นยุง
-จัดซื้อเครื่องพ่นยุง เครื่องละ 6,000 บาทx 5 เครื่อง เป็นเงิน 30,000 บาท -น้ำยาพ่นยุง ขวดละ 1,600 บาท x 2 ขวด    เป็นเงิน 3,200 บาท                   รวม 33,200 บาท

๒. จัดกิจกรรมรณรงค์ Big cleaning Day รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและพ่นยุง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 200 คน x 2 ครั้ง  เป็นเงิน 12,000 บาท -ค่าไวนิลในกิจกรรมรณรงค์ ขนาด 1 x 3 เมตร x250 บาท จำนวน 6 ผืน เป็นเงิน 4,320 บาท -ค่าน้ำมันใช้ในการพ่นยุง              เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าจ้างพ่นยุง คนละ 300 บาท จำนวน 5 คน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท                       รวม 23,320 บาท

๓. จัดอบรมเทคนิคการพ่นยุงและการดูแลเครื่องพ่นยุง -ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาทx 20 คน  เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x 20 คน x 2มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท -ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท x 4 ชั่วโมง      เป็นเงิน 2,000 บาท-                     รวม 4,200 บาท   ค่าใช้จ่ายทั้งโครงการรวมทั้งสิ้น เป็นเงิน 60,720 บาท
  ทุกรายการสามารถถัวจ่ายได้

๔. สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI , CI ทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คปสอ.ปะนาเระ มีการควบคุมการระบาดและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการระบาดของโรคในระยะที่ 2 ในพื้นที่ ดัชนีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่เกินค่ามาตรฐานและมีความต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของ เจ้าหน้าที่ อสม. นักเรียน อบต. และประชาชน ส่งผลให้พื้นที่อำเภอปะนาเระมีผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 09:43 น.