กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 1
รหัสโครงการ 63-L3318-02-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรมอสม. หมู่ 1 บ้านใสคำ
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุบล มากชิต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 9,900.00
รวมงบประมาณ 9,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง
33.00
2 ร้อยละประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และส่งผลไป วินิจฉัยโรค
7.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาอันดับสองของจังหวัดพัทลุงรองจากปัญหาโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะ ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา โรคความดันสูงแบ่งเป็น ๒ประเภท คือชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดซึ่งไม่สามารถระบุถึงต้นเหตุการณ์เกิดได้แต่อาจจะเป็นเพราะปัจจัยอายุ : อายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นมีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง : โรคนี้มีโอกาสพบได้ในคนในครอบครัวเดียวกัน รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำรับประทานเกลือมีเกลือในอาหารที่รับประทานสูงเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกายน้ำหนักเกิน อ้วนสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปความเครียดในส่วนของโรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายสภาวะเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับโรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิดการใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์อันตรายจากโรคนี้ทำให้เป็นอัมพฤกษ์และอัมพาตพิการได้ ทำให้เป็นปัญหากับตนเองครอบครัวชุมชนเสียค่าใช้จ่ายค่าดูแลและขาดรายได้การคัดกรองโรคทำได้โดยการวัดความดันโลหิตผู้รับบริการ อำเภอควนขนุน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี ๒๕๖๒จำนวน ๑๑,๑๙๐ คน คิดเป็น ๑๗,๖๔๔.๒๗ต่อแสนประชากรมีอัตราผู้ป่วยใหม่ จำนวน ๙๗๘ คน คิดเป็น ๑,๑๕๙.๗๖ ต่อแสนประชากร ในส่วนของตำบลโตนดด้วนมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี ๒๕๖๒ ทั้งตำบล จำนวน ๘๙๒ คนคิดเป็น ๑๓,๖๑๘.๓๒ ต่อแสนประชากร มีอัตราผู้ป่วยใหม่จำนวน ๗๔ คน คิดเป็น ๑,๑๙๘.๗๖ต่อแสนประชากรและในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี ๒๕๖๒ หมู่ที่ ๒ มีผู้ป่วยใหม่ จำนวน ๙ คนจะเห็นได้จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิตกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ ๓๕ขึ้นไป ในปี ๒๕๖๒ หมู่ที่ ๑ มีประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๑๒๕ คน ได้รับการคัดกรอง ๑๑๕ คน พบว่าผู้ที่ได้รับการคัดกรอง เป็นปกติ ๖๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๖๕ กลุ่มเสี่ยง จำนวน ๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๕๒ กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๘๓ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยจะต้องได้รับการติดตามดูแล ให้ได้รับบริการวัดความดันซ้ำตามเกณฑ์ที่กำหนดในแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงคือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการบริการวัดความดันซ้ำ เดือนละ ๑ ครั้ง จากอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ และหากความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกราย ในส่วนของกลุ่มสงสัยป่วย คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องติดตามเพื่อให้ได้รับการดูแลและต่อเนื่องเพื่อให้เข้ารับการรักษาเป็นกลุ่มผู้ป่วย ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต ที่บ้านคนละ ๗ วันติดต่อกัน วันละ ๒ ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็นทุกวัน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ เมื่อครบแล้วอาสาสมัครจะนำผลการวัดความดันโลหิตเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยว่ากลุ่มสงสัยป่วยเหล่านี้ จะเป็นผู้ป่วยหรือไม่ หากเป็นผู้ป่วยจะได้รับยาและรักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย จะมีการติดตามวัดความดันโลหิตจากอาสาสมัครสาธารณสุขต่อไปเดือนละ ๑ ครั้ง จากที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตให้เพียงพอกับกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีอุปกรณ์ในการดำเนินงานติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ ๑ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

42.00 42.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค

2.ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และส่งผลไป วินิจฉัยโรค

9.00 9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,900.00 0 0.00
31 มี.ค. 63 จัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ (เครื่องวัดความดันโลหิต) 0 9,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 11:29 น.