กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง ลดโรค ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L1543-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าหวี
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าหวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้าหวี อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.283,99.597place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การคมนาคม รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสุขภาพของประชาชนไทยอย่างมาก จะเห็นได้จากจากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจาก สังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลัีงกาย พฤติกรรมความปลอดภัยการใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม และการบริการ ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศจำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนไดเซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ของประเทศปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยเฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือกาารขาดการออกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม แลไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าหวี พบว่ามีจำนวนผู็ป่วยด้วยโรคเรื้อรังรายใหม่ เพื่มขึ้นทุกปี ขณะที่จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเดิมยังคงอยู่ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่ถูกต้อง และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าหวีอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรังจึงได้จัดทำ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุง ลดโรค ปี 2560 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนสุขภาพ อันจะส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดี ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าโดยชะลอและปราศจากโรคแทรกซ้อนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคโดยให้ใช้แนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 2.เพื่อให้ประชาชน มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคตามกลวิธี 3 อ 2 ส 3.เพื่อสำรวจข้อมูลด้าพฤติกรรมเสี่ยง 3 อ2 ส ของประชาชนกกลุ่มเสี่ยง 15 ปี ขึันไป 4. เพื่อให้มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคในพื้นที่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้าหวี 2.ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายในการอบรม และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อกำหนด แนวทางการดำเนินงานโครงการฯ 3.สำรวจพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมายก่อนการอบรม
  2. จัดเตรียมความพร้อมในการอบรม 5.ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่แกนนำพัฒนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุงลดโรค และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามกลวิธี 3 อ 2 ส 6.จัดกิจกรรม 3 วงล้อต่อชีวิต 7.ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย 8.ส่งเสริมการออกกำลังกายในกลุ่มวัยต่างๆ 9.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคตามกลวิธี 3 อ2 ส
  3. มีข้อมูลด้านพฤติกรรมเสี่ยง 3 อ 2 ส ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง 15 ขึ้นไป ในพื้นที่ 4.มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:00 น.