กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายการบำบัดสมาธิทางความคิดด้วย CBT และการปรับปรุงตนเองตามหลักการทางศาสนาของผู้เสพสารเสพติดในตำบลธารโต
รหัสโครงการ 63-L4119-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลธารโต
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซาบูดิน ยิงทา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.167,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย ถือว่าเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติ ที่ทำให้ประชาชนมีความอ่อนแอ เป็นทาสยาเสพติดทำให้ประเทศชาติพัฒนาล่าช้า ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนผู้ที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดในสถานบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิเพิ่มขึ้น และจะพบจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้สถานการณ์ยาเสพติดอยู่ในสถานที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง จากสถิติอำเภอธารโตตั้งแต่ปี 2560-2562 มีจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในสถานพยาบาลทุกระดับจำนวน 32,102 และ 133 คนตามลำดับ เฉพาะตำบลธารโตมีจำนวน 15,23 และ 26 คน จากปัญหาการบำบัดพบว่าเมื่อครบการบำบัดตามระยะเวลา 4 เดือน สามารถเลิกใช้ยาเสพติดได้สูงสุดเฉลี่ย 3 เดือน หลังจากนั้นกลับมาใช้ซ้ำในปริมาณที่มากขึ้น ร้อยละ 75 มีอาการทางจิตเวชที่รุนแรงขึ้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยลง เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดจากสถานพยาบาล ได้รับการดูแลด้วยวิธีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมผสมผสานการปรับปรุงตนเองตามหลักการทางศาสนา ให้ผู้เสพสารเสพติดในตำบลธารโต มีความคิดและพฤติกรรมที่เหมาะสมไม่พึ่งยาเสพติด ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้เสนอโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้เสพติดจำนวน 26 คน ได้รับการดูอลอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดในสถานพยาบาลได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องมีความคิดและพฤติกรรมที่เหมาะสมไม่พึ่งยาเสพติด

ร้อยละ 50 ผู้เสพยาเสพติดผ่านการประเมินทางความคิดและพฤติกรรม CBT ในระดับดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ เช่น โต๊ะอิหม่าม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และจิตอาสา
  2. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจ และวิธีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมผสมผสานการปรับปรุงตนเองตามหลักการทางศาสนา แก่ทีมวิทยากร
  3. ทำแบบประเมินคัดกรอง ASSIST เพื่อประเมินความเสี่ยงผู้ใช้สารเสพติดต่อจิตประสาท ประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมิน EQ และประเมินอาการทางจิตเวช
  4. แบ่งกลุ่มตามระดับความเสี่ยงจากการใช้สารเสพติดต่อปัญหาสุขภาพ ความเป็นไปได้ที่จะติกสารเสพติด คือ 1) ระดับความเสี่ยงต่ำ 2) ระดับปานกลาง 3) ระดับสูง โดยกลุ่มเสี่ยงระดับสูงให้เข้ารับการบำบัดแบบเข้มในโรงพยาบาล
  5. แบ่งทีมวิทยากร เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน รวมทั้งหมด 4 คน
  6. จัดทีมอำนวยการ ดูแลความสะดวก และช่วยเหลือในการทำโครงการโดยผู้นำชุมชน
  7. ดำเนินการบำบัดตามโครงการระยะเวลา 3 วัน
  8. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดในสถานพยาบาลได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องมีพฤติกรรมที่เหมาะสมไม่พึ่งยาเสพติดอีกต่อไป
  2. ผู้เสพยาเสพติดผ่านการประเมินทางความคิดและพฤติกรรม CBT ในระดับเกณฑ์ดี
  3. สามารถหยุดสารเสพติดอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี
  4. ชุมชนให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการบำบัดเลิกยาเสพติด เพื่อคืนคนดีสู่สังคมต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 14:05 น.