กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง หมู่ที่ 2,3,4 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5238-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 2,3,4 ตำบลชุมพล
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิศชูแสง
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัสหวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จากที่ประชากรไทยมีอายุที่ยืนยาวไม่ถึง 60 ปี เมื่อ 50 ปีก่อนได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 73 ปีในปี พ.ศ. 2552 โดยพบว่าในปี พ.ศ.2545-2550 มีประชากรสูงอายุจากร้อยละ 9.4 เพิ่มเป็นร้อยละ10.7 และในปี พ.ศ. 2554 เพิ่มเป็นร้อยละ 12.2 ปี พ.ศ. 2557 เพิ่มเป็นร้อยละ 14.9 ปี พ.ศ.2560 เพิ่มเป็นร้อยละ 17.1 และแนวโน้มในปี พ.ศ.2563 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 18.6 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบ คือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด สืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การแพทย์ และสาธารณสุข ส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยของประชากรไทยเพิ่มขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น มิได้หมายความว่า ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีขึ้น ช่วงชีวิตที่ยาวขึ้นจะเป็นช่วงชีวิตที่มีปัญหามากขึ้น เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นไปในทางเสื่อมสมรรถภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายลดลง สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลง โดยจะหงุดหงิดง่าย และมีความวิตกกังวลสูง การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของครอบครัว การเกษียณอายุราชการ การเปลี่ยนแปลงทางสถานภาพสมรส สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และเมื่อเจ็บป่วยมักมีอาการรุนแรง และต้องใช้เวลานานในการรักษาและฟื้นฟูสภาพทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า มีผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลตนเองที่ถูกต้องผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ที่มีภาวะพึ่งพิงสูง และพบว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน5คนไม่สามารถออกจากบ้านได้ด้วยตนเองเป็นการสะท้อนสภาวการณ์พึ่งพาทางสังคมได้เด่นชัดนอกจากนี้พบว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยาย มาเป็นครอบครัวเดี่ยวทีมีขนาดเล็กลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันคนในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ผู้สูงอายุมีโอกาสทีจะถูกทอดทิ้งให้เฝ้าบ้าน ปัญหาสุขภาพในประชากรของผู้สูงอายุจะนำไปสู่ความจำเป็นของความต้องการผู้ดูแล และเป็นภาระต่อระบบบริการสุขภาพอย่างมากในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวผู้สูงอายุต้องมีการปรับตัวอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุได้จากสภาพปัญหาข้างต้น ถ้าได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาเหล่านี้เสียแต่ล่วงหน้า ย่อมเป็นการเตรียมการที่จะช่วยให้รัฐไม่ต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลกับการฟื้นฟู ดูแล รักษาผู้สูงอายุดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐควรเร่งรีบในการดำเนินการ หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทย ก็จะมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับปัญหาผู้สูงอายุโดยเฉพาะสิ่งที่ควรเตรียมความพร้อมในลำดับต้น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพียงพอ และทันสมัยผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแลหรือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ หรือสมาคมต่าง ๆจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุหมู่ที่ 2,3,4 ตำบลชุมพล ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า มีความประสงค์จะจัดทำโครงการ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง หมู่ที่ 2,3,4 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560และนำผลจากการดำเนินงานโครงการมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ พิการ และผู้ป่วยติดเตียงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่อาสาสมัครผู้ดูแลฯ ให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแลทั้งที่เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ กลุ่มผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงได้ถูกต้อง
  • ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงได้ถูกต้อง
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลโดยการติดตามเยี่ยมจาก อาสาสมัครผู้ดูแล
2 2. เพื่อจัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป

-. ร้อยละ 80 ของข้อมูลข่าวสาร มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1นำเสนอปัญหาในเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล 1.2จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 1.3 ประสานวิทยากร/ผู้เข้ารับการอบรม 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง 2.2 จัดทำข้อมูลข่าวสาร/ประมวลภาพกิจกรรม เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงและอาสาสมัครผู้ดูแล
3. ขั้นประเมิน 3.1 ประเมินความรู้ และทักษะของ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุก่อน-หลังดำเนินโครงการอบรม
3.2ประเมิน ความถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วนของข้อมูลข่าวสาร 3.3 ประเมินปริมาณ และคุณภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการดูแลฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่ผ่านการอบรมมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของกลุ่มเป้าหมาย
    1. มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำหรับเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหาพื้นที่โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ๑ แห่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:29 น.