กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหัวใจและหลอดเลือด รพ.สต.นางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงหัวใจและหลอดเลือด รพ.สต.นางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5238-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมรัตน์ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัสหวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม และการมีพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียดการดื่มสุรา สูบบุหรี่และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจังเหมาะสมแล้ว อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญทางตา ไต เท้า โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขของโลก และของประเทศไทย จากข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า ปี 2558 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 210 คน .และ17 คน คิดเป็นร้อยละ 24.25 และ1.96 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน212 คน และ 21 คน คิดเป็นร้อยละ27.64 และ 2.74 ตามลำดับ และในปี 2559 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานจำนวน 185 คน .และ19 คน คิดเป็นร้อยละ 21.07 และ 2.19 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน232 คน และ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 29.68และ 2.83 ตามลำดับ และในปี 2558 – 2559 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 130คน และ 138 คน โรคเบาหวานจำนวน 32 คน และ 33 คน โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 31 และ 34 คน ตามลำดับ ซึ่งจากผลการคัดกรองพบว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูง รวมทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว ทั้งในรูปแบบการให้ความรู้รายบุคคล การอบรมเป็นรายกลุ่ม รวมทั้งการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคฯ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย จึงมีความสำคัญมากในการที่จะลดการเกิดโรคในกลุ่ม MetabolicSyndrome จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้าจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันในเลือดสูงหัวใจและหลอดเลือด รพ.สต.นางเหล้า อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา ปี 2560 ขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานรายใหม่และช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2. เพื่อลดการเกิดโรคความดัน โลหิตสูง เบาหวานรายใหม่และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย 3. เพื่อพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายให้เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หัวใจและหลอดเลือด
  1. กลุ่มเสี่ยงฯได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  2. กลุ่มเสี่ยงมีความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดอยู่ ในระดับปกติหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6 เดือน มากกว่าร้อยละ 25
  3. กลุ่มเสี่ยงมีอัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 / โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 10
  4. หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผ่านเกณฑ์หมู่บ้าน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ ระดับดี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1. ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่างๆ และประชาชน ในพื้นที่ได้รับทราบ 2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ระยะปฏิบัติการ
1. จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ตามหลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดโรคฯ 2. ติดตามให้ความรู้และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านโดยจนท.ที่รับผิดชอบหมู่บ้าน/อสม. วิธีดำเนินการ(ต่อ) 3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินความก้าวหน้า ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการลดโรค 1
เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน รวม 3 ครั้งและประเมินผล เมื่อครบ 6 เดือน 4. จัดอบรมกลุ่มป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต/น้ำตาลในเลือดได้และผู้ดูแลผู้ป่วย 5. ติดตามการรักษา/การเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย 6. กำหนดหมู่บ้านเป้าหมายเป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 7. ดำเนินการตามกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค - จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ - ประชุมชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ เพื่อร่วมหาแนวทางการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค - ศึกษาบริบท/สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย การ รับประทานผักผลไม้สดและการบริโภคอาหารไขมันของประชาชน - จัดให้มีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพในชุมชน ความก้าวหน้าฯ เปรียบเทียบกับเกณฑ์หมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ - สรุปผลการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 8. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งในรูปแบบการอบรมเป็นรายกลุ่มรายบุคล รวมทั้งการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดอัตราการเกิดเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ และผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามศักยภาพของชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 14:38 น.