กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L8287-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 25,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภิจิตร์ เตะหมัดหมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 มี.ค. 2563 30 ก.ค. 2563 25,950.00
รวมงบประมาณ 25,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายอาหารปลอดภัย เพื่อให้อาหารที่ผลิตและบริโภคภายในประเทศมีความปลอดภัยในระดับสากลและเป็นครัวอาหารโลก โดยได้กำหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภคใน  3 กลุ่ม คือ อาหารสด อาหารแปรรูปและอาหารปรุง  ทั้งกลไกการดำเนินงานที่สำคัญคือบทบาทของภาครัฐ บทบาทด้านผู้ประกอบการและบทบาทด้านผู้บริโภค ร่วมดำเนินการเพื่อบรรลุนโยบายดังกล่าว
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอ และทำให้อวัยวะต่างๆทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องบริโภคอาหารทุกวัน และอาหารที่บริโภคนั้นควรมีความครบถ้วนทั้งด้านปริมาณ คุณค่าสารอาหาร และ คุณภาพด้านความสะอาด ปลอดภัย สมกับเป็นรากฐานสำคัญของสุขภาพ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าอาหารที่บริโภคกลับเป็นช่องทางนำสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกาย และเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยด้วย  โรคต่างๆ โดยมีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ สารเคมี และโลหะหนัก ประกอบกับแบบแผนการบริโภคที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากเดิมมีการปรุงประกอบอาหารรับประทานในครัวเรือน สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการผลิต การเตรียม และการปรุงอาหารได้ เปลี่ยนเป็นการซื้ออาหารปรุงสำเร็จหรือรับประทานอาหารจากแหล่งผลิตภายนอก เช่น ร้านอาหาร หรือแผงลอยจำหน่ายอาหาร ดังนั้นผู้บริโภคควรมีหลักการพิจารณาร้านอาหารที่สะอาดได้มาตรฐาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งเป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค และผู้ประกอบการต้องมีความสามารถในการควบคุมสภาพแวดล้อมในการผลิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
องค์การบริหารส่วนตำบล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย โดยเน้นส่งเสริมตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภค เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่มากับอาหารและการปนเปื้อนของอาหารอันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
  ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพประชาชนเป็นหลัก จึงได้จัดทำ “โครงการอาหารปลอดภัย” ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste ตลอดจนเพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน

ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน  มากกว่าร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste

จำนวนร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CFGT ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งมีสาเหตุจากร้าน จำหน่ายอาหาร โรงอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

ลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด

80.00
4 เพื่อประชาสัมพันธ์การงดใช้โฟมบรรจุอาหารในตำบลเทพา

จำนวนร้านค้า ร้านอาหารงดใช้โฟมเพิ่มขึ้น

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 102 25,950.00 0 0.00
5 มี.ค. 63 กิจกรรมตรวจร้านอาหาร/แผงลอย มอบป้ายร้านอาหารสะอาดและร้านอาหารปลอดโฟม และรณรงค์ปลอดโฟม 40 13,000.00 -
3 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมอบรมผู้ประกอบการ อสม. แม่ครัวโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 62 12,950.00 -

กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร       1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร       2. ประสานผู้ประกอบการในการเข้ารับการอบรม         3. ประสานวิทยากรในการอบรม       4. ดำเนินการจัดอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร   5. ประเมินผลการจัดอบรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ปลอดโฟม   1. จัดหาโป๊สเตอร์ ใบปลิว เพื่อประชาสัมพันธ์   2. จัดทำป้ายร้านอาหารปลอดโฟม   3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในตลาดนัด ในพื้นที่ตำบลเทพา


-3- กิจกรรมตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste   1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอย และจัดหาป้ายร้านอาหาร     สะอาดพร้อมวัสดุที่เกี่ยวข้อง   2. กำหนดแผนการออกประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร   3. ประสานคณะทีมงานในการออกตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้แก่
    โรงพยาบาล PCU อสม.   4. ออกตรวจประเมินตามแผน   5. มอบป้ายร้านอาหารสะอาดรสชาติอร่อย (CFGT) แก่ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่     ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับร้านอาหารและแผงลอยที่ได้มาตรฐาน 2.  ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste
3.  ลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ
4.  ประชาชนในตำบลเทพางดใช้โฟมบรรจุอาหารเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2563 15:22 น.