กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังและสร้างกระแสการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน รพ.สต.นางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและสร้างกระแสการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน รพ.สต.นางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5238-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมรัตน์ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัสหวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอีกด้วย ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่ไม่สด สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงอหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษและการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนและประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน เป็นประจำ ก็เป็นสาเหตุ
ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้นงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นนโยบายสำคัญมาตั้งแต่ปี 2548 โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านความเข้มแข็งในการกำกับดูแล ให้อาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ซึ่งมีกิจกรรมการดูแลสถานประกอบการอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหาร การดำเนินโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ รวมทั้งอะฟาท็อกซิน ตลอดจนการรณรงค์ ให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ผ่านสื่อต่าง ๆ กิจกรรมเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่สะอาด ปลอดภัย
จากข้อมูลการดำเนินงานอาหารปลอดภัย ของตำบลชุมพล หมู่ที่ 2-4 ปี 2558 - 2559 พบว่าร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย 100 %และผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 100 % พบว่าผ่านร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย100 %ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสาร โพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ100แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน เนื่องจากประชาชนปรุงอาหารรับประทานเองเป็นส่วนมาก จึงต้องมีการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่แม่บ้านให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคอุจจาระร่วงซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกๆของเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและสร้างกระแสการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อน รพ.สต.นางเหล้า อ.สทิงพระ จ.สงขลา ปี 2560 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานอาหารปลอดภัยสำเร็จ ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และส่งผลทำให้อัตราการเกิดโรคอุจจารร่วงในเด็กอายุ 0- 5 ปี ลดน้อยลง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ประกอบการแผงลอย ร้านค้า อสม.และแกนนำชุมชน มีความรู้ในการดำเนินงานอาหารสะอาด ปลอดภัย ตระหนักเห็นความสำคัญและร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค

ร้านค้า แผงลอย โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจ ติดตาม ดูแลและเฝ้าระวัง ด้านสุขาภิบาลอาหาร ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัย มากกว่าร้อยละ 90

2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน มีความรู้อาหารปลอดภัย สุขาภิบาลอาหาร สามารถเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

ผู้ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียน ได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหาร และมีความรู้เพิ่มขึ้น มากกว่า ร้อยละ 90 ของเป้าหมาย

3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายผู้บริโภคในชุมชนให้เข็มแข็ง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1. จัดทำโครงการ 2. ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 ,3 ,4 เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 3. จัดเตรียมสิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการ 3.1วัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร การประชุม/อบรม/จัดกิจกรรมรณรงค์ 3.2กำหนดการประชุม/หลักสูตรการอบรม 3.3งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เอกสารความรู้วิชาการ ดำเนินงานโรงเรียนอาหารปลอดภัย อย.น้อยในโรงเรียน และการพัฒนาแผงลอยอาหารตัวอย่าง
ระยะปฏิบัติการ 1. ตรวจ ติดตาม ดูแลและเฝ้าระวังด้านสุขาภิบาลอาหารปลอดภัย ยาและเครื่องสำอาง แผงลอยขายอาหาร ร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน22แห่ง 2. ตรวจ ติดตาม ร้านค้า เก็บตัวอย่างน้ำดื่มบริโภค 10 ตัวอย่าง และน้ำแข็ง บริโภค จำนวน 10 ตัวอย่าง
3. อบรมสุขาภิบาลอาหาร / อาหารปลอดภัย แก่ ผู้ดูแลเด็กหรือผู้ปกครอง อายุ 0-5 ปี ผู้ประกอบอาหารและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กผู้ประกอบอาหารและครูในโรงเรียน อสม. หรือแกนนำชุมชน ผู้ประการแผงลอย ร้านค้า จำนวน 80 คน
4. สนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียน อย.น้อย จำนวน 1 โรง 5. สนับสนุนการพัฒนากิจกรรมงาน no foam จำนวน 1 แผงลอย 6. สนับสนุนให้โรงเรียนเข้าร่วมประชุม ประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยอาหารร่วมกับรถโมบายของจังหวัด จำนวน 9 คน 7. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่มเอกสาร โป๊สเตอร์ แผ่นพับ หอกระจายข่าว เสียงตามสาย ระยะประเมินผล 1. ติดตามนิเทศการดำเนินงาน 2. ประเมินผลจากการดำเนินงาน
3. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการด้านอาหาร สถานประกอบการด้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
  2. ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการปรุงประกอบอาหาร เลือกซื้อ และบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย จนเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
  3. ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น โรคที่เกิดจากองค์ประกอบด้านการผลิตอาหารและบริโภคอาหารเป็นปัจจัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 15:40 น.