กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่


“ ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดีสมส่วน 2563 ”

ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางญาณิศา น้อยสร้าง

ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดีสมส่วน 2563

ที่อยู่ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L8405-1-2 เลขที่ข้อตกลง 04/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดีสมส่วน 2563 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดีสมส่วน 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดีสมส่วน 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L8405-1-2 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2563 - 30 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 38,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2) สำหรับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1๒ จากข้อมูลสำรวจ ปี 2554 พบว่า มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 101.40 และปี 2559 มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 100.55 ในเด็กวัยแรกเกิด-5ปี นั้นเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยและวัย3-5ปีควรได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย หรือปอดบวม ในปัจจุบันมีหลักฐานที่แสดงว่า เด็กที่โตขึ้นมาจากทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน Coronary heart disease และ stroke รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในระยะวิกฤตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูง สาเหตุสำคัญของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม (2,500 กรัม) คือ การคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนกำหนด preterm หมายถึง การคลอดเมื่ออายุครรภ์ ต่ำกว่า 37 สัปดาห์) ประมาณ 75% ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ำหนักน้อย หรือถ้ารอดตายในช่วงต้นของชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน จากข้อมูล ย้อนหลัง 3 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 พบว่า มีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 9.19, 9.55 และ 5.83 ตามลำดับ
(เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7)การคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุปัจจัยของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 4.62, 5.22 และ 10.31 ตามลำดับ ที่เหลือเกิดจากปัจจัยด้านการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อันเนื่องมาจากภาวะโภชนาการ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ภาวะแกร็น พฤติกรรมการบริโภค การทำงาน และการพักผ่อนของหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงสาเหตุจากครรภ์แฝดอีกด้วย ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพในช่วงวัยแรกเกิดถึง5ปี เพื่อให้มี การดำเนินงานแบบการบูรณาการ โดยให้เกิดคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ (ANC) คลินิกเด็กสุขภาพดีคุณภาพ (WCC) และครอบครัวคุณภาพ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการมส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดี สมส่วน สมวัย ปี2563

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ปัญหาเด็กแรกเกิด-5ปีที่มีพัมนาการล่าช้าภาวะโภชนาการไม่สมส่วนได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สนับสนุนให้เด็กแรกเกิด-5ปีมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บิดามารดาในตำบลทุ่งใหญ่มีความรู้และตระหนักในเรื่องโภชนาการ วัคซีน พัฒนาการที่สมวัยและสังเกตพัฒนาการที่ล่าช้าได้เร็วเพื่อส่งต่อและกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กแรกเกิด-5ปีที่มีพัมนาการล่าช้าภาวะโภชนาการไม่สมส่วนได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด : ร้อยละ90เด็กแรกเกิด-5ปีที่มีพัฒนาการตามเกณฑ์ ภาวะโภชนาการ สมส่วนได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
50.00 30.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 55
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาเด็กแรกเกิด-5ปีที่มีพัมนาการล่าช้าภาวะโภชนาการไม่สมส่วนได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สนับสนุนให้เด็กแรกเกิด-5ปีมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด-5ปีสูงดีสมส่วน 2563 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L8405-1-2

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางญาณิศา น้อยสร้าง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด