กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสตรี ให้มีสุขภาพดี ปราศจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 006/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 1 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมรานเบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านกลาง หมู่ที่ 3 บ้านหัวเขาแก้วตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 รพ.สต.บ้านกลาง ขาดอุปกรณ์ในการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรี อายุ 30-70 ปี เพราะติดปัญหาการเปลี่ยนแปลงระเบียบเงินบำรุงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พ.ศ. 2560 จึงทำให้การดำเนินการจัดซื้อวัสดุในการตรวจไม่ทัน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ ๔,๕๐๐ ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ ๓๐-๕๐ ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด ๕ ปี ประมาณร้อยละ ๖๐ จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก อัตราการอยู่รอด ๕ ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก ๒ ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ ๙๒ % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านกลางพบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมในปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ รวมร้อยละ ๖๐.๘๗ ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติ และกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๗๐ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๙๓.๘๓ พบผู้ที่มีความผิดปกติแต่ไม่ใช่มะเร็ง ๑ ราย จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจพร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและอสม.ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีเป้าหมาย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหา ผู้ป่วยให้เร็วที่สุดจึงได้จัดทำ โครงการ “ใส่ใจสตรี ให้มีสุขภาพดี ปราศจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม” ขึ้น เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและ อสม.มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย ตนเองอย่างถูกต้อง ๓. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ ๔. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรก ๕. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน

๑ เจ้าหน้าที่และ อสม. จำนวน ๒๔ คน ๒ สตรีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี จำนวน ๓๕ คน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและ อสม.มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย ตนเองอย่างถูกต้อง ๓. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ ๔. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรก ๕. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

17 เม.ย. 60 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ 600.00 -
24 พ.ค. 60 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและสอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 5,400.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในพื้นที่
๓. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้าน กลาง ๔. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๕. จัดอบรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ๖. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear
๗. ส่งต่อผู้ที่สงสัยป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาตามระบบ ๖. ติดตาม ประเมิลผล การดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและ สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่าง ถูกต้อง ๓. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๒๐ ต่อปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2560 10:08 น.