กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้างแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน(อย.น้อย)
รหัสโครงการ 60L2975107
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.บ้านสามยอด ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลิลลี่ สุวามีน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.732,101.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตังเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้นสับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลจึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อยมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกชื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้กับ อย.โดยการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกชื้อ เลือกบริโภคอย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

 

2 2.เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

 

3 3.เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่าย และเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนิน อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ชี้แจง/ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้บริหารโรงเรียนทราบ 2.จัดทำทะเบียนนักเรียนที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย ของโรงเรียน 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อย.น้อยในโรงเรียน 4.จัดกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อน สำหรับแกนนำ อย.น้อย ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ 5.สนับสนุนให้โรงเรียนรณรงค์ติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในงานคุ้มครองผู้บริโภค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกชื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว 2.นักเรียนอย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2560 10:09 น.