กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กชายเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเครือข่ายสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มเครือข่ายสุขภาพตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยบทบัญญัติของศาสนาอิสลามกำหนดให้ยุวชนมุสลิมชายทุกคนจะต้องเข้าพิธีสุนัตโดยพิธีเข้าสุนัตหมู่ของเด็กไทยมุสลิม ซึ่งภาษาอาหรับเรียกว่า คีตาน ภาษามาลายูเรียกว่า มาโซ๊ะยาวี ส่วนคนไทย โดยทั่วไปเรียกว่า พิธีเข้าสุนัต ซึ่งทั้งสามคำนี้ มีความหมายเดียวกัน คือ การขลิบปลายอวัยวะเพศ ของเด็กไทยมุสลิม ทั้งชายและหญิง เมื่อย่างเข้าวัยอันควร คือ อายุระหว่าง ๖ - ๑๒ ปี         “พิธีเข้าสุนัต” ถือเป็นส่วนหนึ่งของความดีต่างๆ ตามบทบัญญัติอิสลามที่ “อัลลอฮ” ทรงบัญญัติแก่ปวงบ่าวของพระองค์ และทำให้ความดีต่างๆ ของพวกเขาทั้งภายนอกและภายในมีความสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการชำระความสกปรกสร้างความสะอาดสร้างบุคลิกที่สร้างอารมณ์ทางเพศที่พอดี
ดังนั้นเมื่อถึงวัยดังกล่าวผู้เป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองจึงจำเป็นที่จะต้องมีพิธีเข้าสุนัตให้กับยุวชนมุสลิมชาย แต่เนื่องจากในสภาวการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความจำเป็นจะต้องใช้มาตรการประหยัดเพื่อความอยู่รอด และจากอดีตที่ผ่านมา ปัญหาการเข้าสุนัตที่ทำกันอยู่ในชุมชน ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการติดเชื้อค่อนข้างมาก สาเหตุประการหนึ่งมาจากเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสุนัตไม่สะอาดเพียงพอและเด็กหรือผู้ปกครองบางส่วนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเอง         จากหลักการและปัญหาดังกล่าวข้างต้น เครือข่ายสุขภาพ อสมได้ตระหนักถึงการเข้าไปมีส่วนร่วม การสืบทอดประเพณีทางศาสนาที่มีขึ้นมาอย่างยาวนาน และเป็นบทบัญญัติอิสลาม จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิมขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก (bleeding)

ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

เข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลท่าเรือสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

เข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 มี.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 1. กิจกรรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 62 5,040.00 450.00
3 มี.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 กิจกรรมย่อยขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จำนวน 29 คน 29 23,200.00 23,200.00
รวม 91 28,240.00 2 23,650.00

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. จัดประชุมกลุ่มเครือข่ายสุขภาพตำบลท่าเรือ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม ๓. กลุ่มเครือข่ายสุขภาพตำบลท่าเรือออกสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมาย ๔. กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 62 คน เรื่อง - การเข้าสุนัตตามหลักการอิสลาม - ข้อดีของการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย - ลักษณะการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย - วิธีการดูแลรักษาแผลหลังจากขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย
๕. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจำนวน ๒9 คน ๖. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) และลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อได้ ๒. ผู้ปกครอง และชุมชนตระหนัก เข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อได้ ๓. เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลท่าเรือเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 11:13 น.