กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย
รหัสโครงการ 6๓-L8013-๓-0๒
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,170.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เรือโทประเสริฐ เดชธงไชย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.369,101.508place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือผู้ชรา เป็นคนที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต นิยามของผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ อาทิ ทางชีววิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้างงานและทางสังคมวิทยา ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 61-65 ปีขึ้นไป สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์และเป็นแหล่งความรู้ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมและยังเป็นสายใยแห่งความรักระหว่างครอบครัวที่คอยเชื่อระหว่างลูกหลานญาติมิตรผู้ใกล้ชิดตามประเพณีอีกด้วย และสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุก็คือเป็นผู้ที่ถือว่ามีความชำนาญในการดำเนินชีวิตที่เป็นตัวอย่างแก่คนที่มีอายุที่น้อยกว่า ปัจจุบันคนในวัยนี้กำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่มีอัตราการเกิดน้อยกว่าการตาย อันเนื่องจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์จึงทำให้อายุยืนขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น อันเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ข้อมูลประชากรของเขตเทศบาลตำบลรือเสาะ พบว่ามีกลุ่มประชากรระดับอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,099 คน (ทะเบียนราษฎรเทศบาลตำบลรือเสาะ,256๓) คิดเป็นร้อยละ 14.52 ของจำนวนประชากรเขตเทศบาลตำบลรือเสาะทั้งหมดจาก 7,569 คน โดยแบ่งผู้สูงอายุเพศชาย จำนวน 488 คน หญิง จำนวน 611 คน
เทศบาลตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนางานระบบการดูแลผู้สูงอายุ ได้มีการขับเคลื่อนงานการดูแลผู้สูงอายุ เริ่มต้นจากการศึกษาดูงาน ณ อบต.ไกรนอก ตำบลกงไกรลาศ อำเภอไกรนอก จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 24 – 28 เมษายน 2560 หลังจากได้ศึกษาดูงาน นั้น ได้แนวคิดในการพัฒนางานของเทศบาลตำบลรือเสาะ โดยการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ ภายใต้ฐานคิดสุขภาวะ 4 มิติ ที่ประกอบด้วย การสร้างความสุขทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางสติปัญญา
    เมื่อวันที่ 21 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2560 เทศบาลตำบลรือเสาะ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่มีชื่อว่า “โรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย” ได้จัดตั้ง  ณ อาคารสร้างสุข สวนกาญจนาภิเษก เทศบาลตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีสมาชิกในโรงเรียน จำนวน ๔๐ คน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ ๕๕ ปีขึ้นไป ซึ่งส่งเสริมด้านการเรียนรู้ การจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ส่วนโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย ในรุ่น 2 นี้ มีสมาชิกจำนวน ๔๕ คน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ ๕๕ ปีขึ้นไป     ผู้สูงวัยจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มาเรียนในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ด้านจิตใจ ช่วยให้คลายเหงา ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกัน ด้านจิตปัญญา ปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ เรียนรู้ทักษาทางด้านอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยเหลือตนเองต่อไป จากการดำเนินงานโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย ได้ระยะเวลาหนึ่ง พบว่ามีปัญหาในเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอน/การอบรม เพื่อให้ผู้สูงวัยมีทักษะด้านการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมแก่วัยในทุกมิติ ที่ประกอบด้วย การสร้างความสุขทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางสติปัญญา ทางคณะกรรมการโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย จึงจัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพผู้สูงวัย ประจำปี ๒๕๖๓ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกิจกรรมของโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการบริการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงวัยในโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย

ร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลเอาใจใส่ในบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสติปัญญา

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาด้านสุขภาพ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสติปัญญา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 41,170.00 0 0.00
10 มี.ค. 63 กิจกรรมการจัดทำหลักสูตร 0 1,000.00 -
10 มี.ค. 63 ด้านสุขภาพ 0 14,325.00 -
10 มี.ค. 63 ด้านวัฒนธรรม ศาสนา และจิตใจ 0 5,625.00 -
10 มี.ค. 63 ด้านสังคม 0 8,000.00 -
10 มี.ค. 63 ด้านสิ่งแวดล้อม 0 6,595.00 -
10 มี.ค. 63 ด้านสติปัญญา 0 5,625.00 -
  1. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมชี้แจง เตรียมความพร้อมการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย พร้อมแต่งตั้งคำสั่งคณะทำงานของแต่ละฝ่าย
  3. จัดทำหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุและกิจกรรมการเรียนการสอน ภายใต้ฐานคิดสุขภาวะ 4 มิติ ที่ประกอบด้วย การสร้างความสุขทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางสติปัญญา โดยจัดกิจกรรมประชุมปรึกษาหารือการจัดทำหลักสูตรโรงเรียนสร้างสุข ผู้สูงวัย ทต.รือเสาะ
  4. ดำเนินกิจกรรมตามหลักสูตรที่จัดทำขึ้น ประกอบด้วย การสร้างความสุขทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางสติปัญญา จำนวน 20 วันต่อรุ่น
  5. คณะทำงานติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงจาการเจ็บป่วย ลดระยะเวลาการพึ่งพาผู้อื่น มีอายุยืนยาว
  2. ด้านจิตใจ ช่วยให้ลดคลายความเหงาจากการพบปะกลุ่มเพื่อนและสร้างความรู้สึกและตระหนักในคุณค่าของตนเองมีมุมมองเชิงบวกต่อตนเอง
  3. ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัยได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของกลุ่ม
  4. ด้านจิต ปัญญา ทำให้รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นและสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 10:12 น.