กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมครรภ์แม่ ดูแลลูกน้อย ลดเสี่ยงลงหน่อย คลอดได้ปลอดภัย โตไวด้วยนมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมครรภ์แม่ ดูแลลูกน้อย ลดเสี่ยงลงหน่อย คลอดได้ปลอดภัย โตไวด้วยนมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นมาตรการหนึ่งในการบริบาลและเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ไปรับบริการดูแลครรภ์จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างน้อย ๕ครั้ง และฝากครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและควรไปฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ไม่เกิน๑๒สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายของมารดาและทารก รวมทั้งสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ได้เฝ้าระวังดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานบริการของรัฐช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากสาเหตุต่างๆ ลดการเกิดทารกตายปริกำเนิด การคลอดก่อนกำหนด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอดซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของมารดาและทารกหลังคลอดได้เมื่อมารดามีความรู้สามารถดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังความเสี่ยงด้วยตนเองและเตรียมตัวเพื่อการคลอดที่ปลอดภัยพร้อมทั้งวางแผนในการเลี้ยงดูทารกที่จะเกิดมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ไทยในอนาคตของตำบลท่าเรือ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับการฝากครรภ์จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงอาจได้จากการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่าและรุนแรงกว่าได้ จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฝากครรภ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ไม่เห็นความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียนระบบบริการการย้ายถิ่นที่อยู่ ค่าใช้จ่าย การเขินอายเมื่อตั้งครรภ์ในรายที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปี และเกิดจากภาระงาน ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้ไปฝากครรภ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนจากครอบครัว การเฝ้าติดตามสำรวจและการให้คำแนะนำของ อสม. ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ จากสถานการณ์ของปีงบประมาณ ๒๕๖๒เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือพบว่าที่ผ่านมามีหญิงตั้งครรภ์๓๕คน ได้รับการดูแลการตั้งครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ๒๔ คน และดูแลครบ ๕ครั้ง ๒๔คน  หญิงตั้งครรภ์ที่ไปฝากครรภ์ที่คลินิกเอกชน ๕คน ในจำนวนหญิงตั้งครรภ์ ๓๕ คน พบว่ามีเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ ๔ คน พบมารดาคลอดบุตรมีน้ำหนักต่ำกว่า ๒,๕๐๐กรัม ๒ คนและพบหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียน ๒คน ได้คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ ๓๔ สัปดาห์ จำนวน ๑ ราย ซึ่งเป็นปัญหาที่รุนแรงมากของงานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารกในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่หน่วยบริการทำให้มีความรู้สามารถดูแลตนเองในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดและระยะหลังคลอดรวมถึงการเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนอย่างถูกต้อง ซึ่งย่อมเป็นผลดีแก่สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกที่จะเกิดมา ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชนและบุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรอย่างปลอดภัยจำเป็นต้องมีความรู้และเข้าใจ สามารถประเมินภาวะเสี่ยงเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องและสามารถส่งต่อได้ทันเวลา ไม่เกิดแม่ตายจากการตั้งครรภ์และการคลอด และ ลดอัตราการเกิดทารกตายปริกำเนิดได้ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนหญิงหญิงวัยรุ่น อายุ ๑๒- ๑๘ ปี มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะชีวิตเพื่อป้องกันตนเองและลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

หญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๑๙ ปี และแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ลดอัตราการเกิดมีชีพ ตามเกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ ๑๐

50.00
2 2. เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด ( เมื่อรู้ว่าท้อง รีบมาฝากทันใด )

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์และสามารถป้องกันภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

50.00
3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และครอบครัวได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ ต่อเนื่อง ครบตามเกณฑ์  ๕ ครั้ง  ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

50.00
4 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการติดตามและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงเพื่อการส่งต่อทันเวลา

หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงพร้อมทั้งผู้ดูแลสามารถประเมินอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

50.00
5 5. เพื่อให้มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องครบ ๓ ครั้งตามเกณฑ์

มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดครบ ๓ ครั้งตามเกณฑ์

50.00
6 6. เพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๐

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนหญิงหญิงวัยรุ่น อายุ ๑๒- ๑๘ ปี มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะชีวิตเพื่อป้องกันตนเองและลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด ( เมื่อรู้ว่าท้อง รีบมาฝากทันใด )

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และครอบครัวได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการติดตามและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงเพื่อการส่งต่อทันเวลา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : 5. เพื่อให้มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องครบ ๓ ครั้งตามเกณฑ์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 6 : 6. เพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1.กิจกรรม อบรม วัยเรียน วัยใส รักอย่างไร ไม่ให้เสี่ยง เลี่ยงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 50.00 6,200.00 -
10 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 2. กิจกรรม อบรม ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลเรื่องลดภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์และการดูแลครรภ์ อย่างไรให้ปลอดภัยทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด 50.00 9,800.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. เขียนโครงการ และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. กิจกรรม วัยเรียน วัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง เลี่ยงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ๓. จัดตั้งเครือข่ายเพื่อนคู่คิดพิชิตปัญหาวัย Teen ๔.กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์ (เมื่อรู้ว่าท้อง รีบมาฝากทันใด) ๔.๑ สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุที่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ เพื่อจัดทำทะเบียน ๔.๒ สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ทุกคนรวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์คลีนิคเอกชนเพื่อจัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ๔.๓ วิเคราะห์ข้อมูลและให้ความรู้อสม.ช่วงประชุมประจำเดือนในเรื่องการตรวจการตั้งครรภ์ ๔.๔ พบหญิงวัยเจริญพันธ์ประจำเดือนขาด ๑ เดือน เมื่อตรวจการตั้งครรภ์พบว่าตั้งครรภ์ให้ อสม.ส่งต่อมารับการฝากครรภ์ทันทีที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ๔.๕ ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างกระแสการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ โดยการฝากครรภ์ต่อเนื่องครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์และคลอดที่โรงพยาบาลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน ๕. สร้างความรู้ความเข้าใจของหญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนขณะการตั้งครรภ์ และ หลังคลอด สามารถเฝ้าระวังและประเมินภาวะเสี่ยงและส่งต่อได้ถูกต้อง โดยการจัดอบรมความรู้เรื่องการฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ความรู้ด้านโภชนาการขณะตั้งครรภ์ความรู้เรื่องโลหิตจางกับการตั้งครรภ์อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดการปฏิบัติตนหลังคลอดการเฝ้าระวังติดตามประเมินภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด และความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๖. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและรายงานผล ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า ๑๙ ปี และแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ลดอัตราการเกิดมีชีพ ตามเกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ ๑๐
๒.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์และสามารถป้องกันภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ๓.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ ต่อเนื่อง ครบตามเกณฑ์ ๕ ครั้ง ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ๔.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงพร้อมทั้งผู้ดูแลสามารถประเมินอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้ ๕. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดครบ ๓ ครั้งตามเกณฑ์
๖. อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๐ ๗. มีเครือข่ายเพื่อนคู่คิดพิชิตปัญหาวัย Teenป้องกันท้องก่อนวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 11:27 น.