กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)
รหัสโครงการ 63-L8423-05-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤษภาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 42,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุลัยมาน เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหมัด อีอาซา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 พ.ค. 2563 30 มิ.ย. 2563 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (42,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ที่กำลังระบาดทั่วโลกในขณะนี้ รวมไปถึงประเทศไทยที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) เช่นกัน ส่งผลกระทบในวงกว้าง มีอัตราป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและอัตราการเสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน สร้างความเดือดร้อนเสียหายทั้งต่อสุขภาพพลานามัยและผลกระทบในทางอ้อมทั้งสภาพเศรษฐกิจสังคมแก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าข้อมูลผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 15 เมษายน 2563) พบผู้ป่วยยืนยัน 2,083,304 ราย เสียชีวิต 134,616 รายและพบผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ 51,142 ราย และข้อข้อมูลผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 เมษายน 2563) พบผู้ป่วยยืนยัน 2,643 ราย เสียชีวิต 43 รายและพบผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ 61 ราย และข้อข้อมูลผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ในจังหวัดนราธิวาส (ข้อมูล ณ วันที่ 15 เมษายน 2563) พบผู้ป่วยยืนยัน 29 ราย เสียชีวิต 1 ราย จากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีความเสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันทั้งในระดับนโยบายและในระดับพื้นที่เพื่อสกัดกั้นยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน เกิดการเจ็บป่วยและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงเสียชีวิตได้ อนึ่ง เชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) เป็นโรคระบาดที่สามารถติดต่อได้ง่ายและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีภาวะแทรกซ้อนที่จะทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบเป็นอันตรายต่อชีวิต ดังนั้นการควบคุมเฝ้าระวังโดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง การดำเนินงานตามหลักมาตรฐานทางระบาดวิทยา การสอบสวนโรคและควบคุมป้องกันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ตลอดจนการสื่อสารเรื่องมาตรการการป้องกันการติดเชื้อให้แก่ประชาชนก็มีความสำคัญไม่ลดหย่อนไปกว่ากันที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ ทั้งในเรื่องของการใส่หน้ากากอนามัย การกำชับส่งเสริมในเรื่องของการล้างมือบ่อยๆ การรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และการเฝ้าระวังสังเกตอาการ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และกระบวนการที่ต้องปฏิบัติจากประชาชน เป็นกระบวนที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องจึงจะทำให้หยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ได้ ตามประกาศฯ ขอ 10(5) นั้น สามารถกันเงินสำหรับแกปญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติ รอยละ 5-10 ของรายรับ หรือมากกวาตามสถานการณตามแผนงานหรือโครงการที่เคยอนุมัติไวหากจำเปนตองขยายวงเงินเพราะไมเพียงพอ ทานสามารถดำเนินการได (โดยใหนำเสนอใหความเห็นชอบในที่ประชุมครั้งตอไป) เงื่อนไขครุภัณฑที่จำเปนตอการดำเนินโครงการไมจำกัดวงเงิน ขอใหเบิกจายเงินโครงการแกผูรับทุนดำเนินการดวยความรวดเร็วเพื่อใหสามารถทันตอการแกไขปญหา ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มี โครงการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (โควิด-19) เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส (โควิด-19) โดยมีมาตรการการควบคุมป้องกันโรคทางระบาดวิทยาที่มีมาตรฐานและมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ

 

0.00
2 การลงพื้นที่เพื่อเคาะประตูบ้าน คัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่เกิดการระบาด ติดตามสังเกตอาการ กำชับเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคภายในบ้าน การใส่หน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือบ่อยๆ และการดำเนินการตามมาตรการรักษาระยะห่าง (Social Distancing)

 

0.00
3 การลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อสื่อสารความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันโรค การดำเนินการตามมาตรการการเฝ้าระวังการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยมีการสื่อสารทุกช่องทาง ทุกสื่อที่หลากหลายและดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง

 

0.00
4 ติดตาม ทบทวน เฝ้าสังเกตการณ์การดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และตื่นตัวในการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เกิดความเข้าใจและตื่นตัว ตลอดจนมีการกำหนดแผน การกำหนดความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ข้อมูลทางวิชาการให้มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 42,200.00 0 0.00
8 - 12 พ.ค. 63 ดำเนินการตามมาตรการการเฝ้าระวังและการควบคุมป้องกันโรคตามหลักระบาดวิทยา และมาตรการที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในเรื่องการสื่อสารการเฝ้าระวังการป้องกันโรคและดำเนินการตามมาตรการทางปฏิบัติที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของโรค 60 33,200.00 -
13 - 26 พ.ค. 63 การลงพื้นที่เพื่อเคาะประตูบ้าน คัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่เกิดการระบาด ติดตามสังเกตอาการ กำชับเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคภายในบ้าน การใส่หน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือบ่อยๆ และการดำเนินการตามมาตรการรักษ 60 0.00 -
27 พ.ค. 63 - 19 มิ.ย. 63 การลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อสื่อสารความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันโรค การดำเนินการตามมาตรการการเฝ้าระวังการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยมีการสื่อสารทุกช่องทาง ทุกสื่อที่หลากหลายและดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง 0 9,000.00 -
20 - 30 มิ.ย. 63 ติดตาม ทบทวน เฝ้าสังเกตการณ์การดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และตื่นตัวในการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เกิดความเข้าใจและตื่นตัว ตลอดจนมีการกำหนดแผน การกำหนดความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติ วัสดุอุปกรณ์ใน 60 0.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมแกนนำชุมชนร่วมกับ อสม.ทั้งหมดเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไข 2. ร่วมกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 3. ร่างแผนปฏิบัติงาน/ร่างโครงการ เสนออนุมัติ 4. ทำความเข้าใจ ชี้แจงมาตรการและแนวทางในการดำเนินงานเชิงปฏิบัติ 5. มอบหมายงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการตามมาตรการการเฝ้าระวังและการควบคุมป้องกันโรคตามหลักระบาดวิทยา และมาตรการที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในเรื่องการสื่อสารการเฝ้าระวังการป้องกันโรคและดำเนินการตามมาตรการทางปฏิบัติที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของโรค 2. การลงพื้นที่เพื่อเคาะประตูบ้าน คัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่เกิดการระบาด ติดตามสังเกตอาการ กำชับเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคภายในบ้าน การใส่หน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือบ่อยๆ และการดำเนินการตามมาตรการรักษาระยะห่าง (Social Distancing) 3. การลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อสื่อสารความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันโรค การดำเนินการตามมาตรการการเฝ้าระวังการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยมีการสื่อสารทุกช่องทาง ทุกสื่อที่หลากหลายและดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง 4. ติดตาม ทบทวน เฝ้าสังเกตการณ์การดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และตื่นตัวในการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เกิดความเข้าใจและตื่นตัว ตลอดจนมีการกำหนดแผน การกำหนดความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ข้อมูลทางวิชาการให้มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ 2. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของบุคลากรสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทำให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้
  2. ชุมชนมีการดำเนินงานเฝ้าระวังและดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคโดยทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข มหาดไทย องค์กรอื่นๆ และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 00:00 น.