กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟันสวยด้วยมือแม่ใน ศพด.บ้านลานไทร
รหัสโครงการ 60-L5206-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลานไทร
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจันทราสุขตาไชย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.916,100.547place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ.2549-2550 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี ฟันผุร้อยละ 61.4 ภาคใต้มีเด็กฟันผุร้อยละ 64.0 สำหรับจังหวัดสงขลาเด็กกลุ่มอายุ 3 ปี มีโรคฟันผุปี 2551-2555 เท่ากับร้อยละ 77.6,77.4,75.8,73.4 และ 69.2 ตามลำดับ พื้นที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ในปี 2557-2559 พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 18 เดือน ปราศจากฟันผุเท่ากับร้อยละ 93.33,97.27,94.8 ตามลำดับ และเด็ก 3 ปี ปราศจากฟันผุเท่ากับร้อยละ 49.66,56.1,56.8 ตามลำดับ ซึ่งจากการสำราจ ตำบลทุ่งขมิ้น เด็ก 3 ปี ปราศจากโรคฟันผุ 34.92,50.00,31.03 ตั้งแต่ปี 2557-2559 ตามลำดับ ซึ่งนับว่าสูงเมื่อเทียบกับระดับภาคและประเทศ จากข้อมูลการตรวจสุขภาพฟันเด็ก ปี 2559 พบว่าเด็กอายุ 18 เดือนใช้ขวดนมร้อยละ 100 กินขนมร้อยละ 100 แปรางฟันก่อนนอนร้อยละ 78.6 ฟันผุร้อยละ 14.3 ในเด็ก 3 ปี เด็กที่แปรงฟันตอนเช้าร้อยละ 92.33 เด็กที่มีฟันสะอาดร้อยละ 83.4 ฟันผุร้อยละ 43.2 จะเห็นได้ว่าโรคฟันผุและช่องปากไม่สะอาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สภาพปัญหาโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้ปกครองไม่มีความรู้และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของฟันน้ำนม เด็กจึงไม่ได้รับการดูแลสุสขภาพช่องปากให้ดีเท่าที่ควร เด็กไม่ได้รับการทำความสะอาดช่องปากก่อนนอน ผู้ปกครองไม่ทราบวิธีและไม่มีทักษะในการทำความสะอาดช่องปากให้เด็ก อีกทั้งเด็กยังมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม อาทิเช่น นอนหลับคาขวดนม กินขนมหวาน อมข้าว รวมทั้งให้กินขนมระหว่างมื้อมากกว่าวันละ 2 ครั้ง และขาดการทำความสะอาดช่องปากเด็กอย่างเหมาะสม ฟันน้ำนมมีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยในการบดเคี้ยวอาหารเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการเจิญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร ช่วยในการออกเสียงพูดให้ชัดเจน ช่วยในการรักษาที่ว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้นตรงตำแหน่ง อีกทั้งการที่เด็กมีฟันผุตั้งแต่อายุยังน้อยการให้การรักษาย่อมทำได้ยาก เนื่องจากเด็กไม่ให้ความร่วมมือ และค่าใช้จ่ายในการรักษาย่อมสูงกว่าการป้องกัน จึงนับว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการให้บริการโดยไม่จำเป็น ดังนั้นการให้ความรู้และเสริมทักษะแก่ผู้เลี้ยงดูเพื่อให้เริ่มแปรงฟันให้ลูกตั้งแต่เริ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ปัญหาฟันนำ้นมผุในเด็กเล็กมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กของผู้เลี้ยงดูเด็กโดยตรง เพื่อแก้ไขปัญหาฟันน้ำนมผุในเด็กเล็ก โครงการนี้จึงมุ่งที่จะให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงดูเด็กถึงวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่ไม่เหมาะสม คือ การให้เด็กกินนมหวาน ให้ดูดนมมื้อดึกเมื่ออายุมากกว่า 6 เดือน ให้เด็กเลิกขวดนมช้า รวมทั้งให้กินขนมระหว่างมื้อมากกว่าวันละ 2 ครั้ง (กินจุบจิบ) และขาดการทำความสะอาดช่องปากเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งโครงการนี้ทำควบคู่กับการให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชให้กับเด็กในกลุ่ม 3-5 ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองเด็กมีทัศนคติต่อความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจการดูสุขภาพช่องปาก

 

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก

มากกว่าร้อยละ 70 ของเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีช่องปากสะอาด

4 เพื่อลดการเกิดฟันผุในเด็ก 3-5 ปีที่เข้าร่วมโครงการ

เด็กอายุ 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลทุ่งขมิ้นปราศจากฟันผุมากกว่าร้อยละ 50

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ศึกษาข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 3-5 ปีในตำบลทุ่งขมิ้น - ลงศึกษาข้อมูลทางด้านสุขภาพและข้อมูลด้านทันตสุขภาพที่โรงพยาบาลส่วเสริมสุขภาพตำบลทุ่งขมิ้นและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลทุ่งขมิ้น 1.2 จัดประชุมวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาแนวทางแก้ไข กำหนดกิจกรรมร่วมกันกับกลุ่มผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งขมิ้น ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล้กในตำบลทุ่งขมิ้น ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทน อบต.และ อสม. อายุ 3-5 ปีกระบวนการในการวิเคราะห์สภาพปัญหาโดยเลือกใช้กระบวนการค้นหาปัญหา "A-I-C กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม" 1.3 จัดทำแบบบันทึกที่เอื้อต่อการเก็บข้อมูลและแบบบันทึกที่จะแนบในสมุดสีชมพูเพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนกลับให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก 1.4 จัดทำแผ่นพับในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ลูกรักฟันดีเริ่มที่ซี่แรก การเลี้ยงลูกด้วยนมขวด การทำความสะอาดช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชุมครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลทุ่งขมิ้น และให้ความรู้ในเรื่องการทำความสะอาดช่องปากในแต่ละช่วงอายุของเด็ก 3-5 ปี การเลี้ยงลูกด้วยนมขวด อาหารที่มีประโยชน์ต่อฟันประโยชน์ของฟลูออไรด์วานิชให้ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งขมิ้น เป็นผู้นัดหมายกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งอาจต้องมีการชี้ให้ผู้เลี้ยงดูเด็กเห็นถึงความสำคัญของการมารับบริการตามนัดหมายทุกครั้ง และร่วมสอนการทำความสะอาดช่องปาก 2.2 ประชุมผู้ดูแลเด็กให้ความรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและการเลือกบริโภคอาหารของเด็กอายุ 3-5 ปี แก่ผู้ดูแลเด็ก เน้นเรื่องให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุ ให้ความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหาร การทำความสะอาดช่องปาก การงดดื่มนมมื้อดึก กิจกรรม ฝึกทักษะการแปรงฟัน เช็ดเหงือก ย้อมสีฟัน ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่ผู้ปกครองโดยแปรงกับบุตรหลานของตนเอง ประเมินค่าติดสี 2.3 เคลือบฟลูออไรด์วานิชเด็ก 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.4 บันทึกข้อมูลในสมุดการแปรงฟันของน้องหนู 2.5 อุดฟันโดยไม่ใช้หัวกรอในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.6 เคลือบหลุมร่องฟันในเด็กที่มีฟันแท้ซี่แรกขึ้น 3.ขั้นสรุปผล 3.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผู้ดูแลเด็ก บอกผลที่ได้สะท้อนกลับสู่ชุมชน 3.2 จัดประกวดหนูน้อยฟันดีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ช่วยกระตุ้นให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก 3-5 ปี ตื่นตัวในการดูแลทันตสุขภาพทั้งของตนเองและของบุตรหลาน ทั้งในด้านการป้องกันและรักษา ทำให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุข 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ถึงพฤติกรรมสุขภาพ สามารถบริหารจัดการการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพช่องปาก 3.เด็ก 3 ปี มีฟันผุลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2560 11:40 น.