กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ ๖๓-L๘๐๑๓-๒-๐๘
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร ทต.รือเสาะ
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มีนาคม 2563 -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 82,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสริมสุข คุณากรพิพัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.369,101.508place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลรือเสาะ มีลักษณะทางสังคมที่โดดเด่นเฉพาะตัว เป็นตำบลแห่งการพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่ ผู้คนมีสุข เป็นเมืองหพุวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานระหว่างวิถีของชาวมุสลิม ชาวพุทธ ชาวจีนและชาวปากีสถาน ก่อให้เกิดวัฒนธรรมและประเพณีที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นเมืองแห่งการกีฬา โดยมีโรงงาน Hand in Hand ruso ผลิตเสื้อกีฬา ทำให้มีผู้คนมากหน้าหลายตาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ เดินทางเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นเมืองที่โดดเด่นเรื่องการค้าขายเครื่องอุปโภคบริโภค ความหลากหลายทางด้านอาหาร มีร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและกระตุ้นให้เกิดการลงทุน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ต่อไป     ปัจจุบัน อาหารได้เข้ามามีบทบาทต่อผู้บริโภคมากขึ้น ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอก รสชาติและราคาของอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่คนคำนึงถึงว่าตนจะเลือกบริโภคอาหารนั้นๆหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่จะได้รับและในวิถีชีวิตที่เร่งรีบนี้ ทำให้คนไม่มีโอกาสที่จะเลือกบริโภคอาหารให้ได้ครบตามความต้องการของร่างกาย และยังพบอีกว่า ร้านอาหาร และแผงลอยฯ ยังมีสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งด้านสุขาภิบาล และสุขวิทยาส่วนบุคคล อีกทั้ง ยังมีโรคระบาดเกี่ยวกับอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ตลอดจนคุ้มครองสุขภาพของประชาชน และนักท่องเที่ยวให้ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ตามมาตรฐาน“อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste) ด้วยเหตุนี้ เทศบาลตำบลรือเสาะ จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่วนราชการ ภาคเอกชน และชมรมต่างๆ ในพื้นที่ จัดทำโครงการมหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐาน “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste)

 

0.00
2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว

 

0.00
3 เพื่อสร้างแรงจูงใจผู้ประกอบการร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารให้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้จักเลือกซื้อ และบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 82,950.00 0 0.00 82,950.00
10 มี.ค. 63 ประชุมเตรียมความพร้อม 0 1,500.00 - -
10 มี.ค. 63 มหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ 0 81,450.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 82,950.00 0 0.00 82,950.00

1.จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ 2.ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการพร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ 3.การออกร้านอาหารที่ได้มาตรฐาน “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food GoodTaste)
ซึ่งประกอบด้วยร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในตำบลรือเสาะ
  -การออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP/สินค้า SME   -กิจกรรมการประกวด “สุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ (อาหารจานเด็ด)”   -กิจกรรมลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (Say No To Foam)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในตำบลรือเสาะได้รับการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและมีภาพลักษณ์ในทางที่ดี 2.ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว 3.ผู้ประกอบการร้านอาหารได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารมากขึ้นและมีแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจอยู่มนพื้นที่ 4.ประชาชนได้รู้จักการเลือกซื้ออาหารที่สะอาด ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 12:56 น.