กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขในชุมชนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขในชุมชนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้ประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสารปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลย่านตาขาว ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ปี 2561 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้น ๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิดโรคหัวใจขาดเลือดโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ มีพื้นที่รับผิดชอบ ๓ หมู่บ้าน มีประชากรรับผิดชอบ ๒,๗๘๑ คน มีจำนวนหลังคาเรือน ๕๕๙ หลังประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างประมงเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นต้นครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันวิถีชึวิตชุมชนโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารถุงอาหารปรุงสุกที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้นซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวและอีกปัญหาหนึ่งที่ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ คือ การใช้ยายังมีความนิยมใช้ยาชุด หรือยาที่พ่อค้าเร่โฆษณาสรรพคุณ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลาย ๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทย มาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้จึงจัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขในชุมชนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน  การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯ  และบริโภคอาหารที่ปลอดภัยผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย

๑.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย ร้อยละ 70

70.00
2 ๒.เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

๒.เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ร้อยละ 70

70.00
3 ๓.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

๓.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 70

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒.เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 มี.ค. 63 - 31 ก.ค. 63 1 .จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 80.00 16,490.00 -
10 มี.ค. 63 ๒.กิจกรรมเดินรณรงค์ 80.00 1,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑.ขั้นเตรียมการ ๑.๑จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขในชุมชนประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ๑.๒เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑.ดำเนินการตรวจร้านชำ และร้านขายของสด ๒.๒ สุ่มตรวจและส่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๒.๓ ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหารและ  แผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2 ๒.๔เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ๒.๕อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขแก่ภาคีเครือข่าย ได้แก่ แกนนำสุขภาพ, กลุ่มผู้ประกอบการร้าน และกลุ่มภาคีเครือข่าย ๓.ขั้นติดตามประเมินผล ๓.๑ดำเนินการตรวจสอบร้านชำและร้านขายของสดทุกเดือน ๓.๒ ดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียภายในร้านอาหารซ้ำทุก ๆ ๓ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย ๒. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
๘.เป้าหมายและตัวชี้วัด 1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง 3.ร้านชำในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพปลอดภัยได้มาตรฐานมาจำหน่ายคลอบคลุมร้อยละ 100 4.ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 14:19 น.