โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาครประจำปี พ.ศ.2563
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาครประจำปี พ.ศ.2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2529-4-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร |
วันที่อนุมัติ | 9 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 98,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ว่าที่ร้อยตรีชูสิทธิ์ จันแดง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.152,101.492place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 29 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพืนที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงการสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุน ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ดังนั้นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบกองทุนสุขภาพท้องถิ่นโดยมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชน บุคคลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและท้องถิ่นสมทบอีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นวิธีการอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่จะเสริมสร้างสุขภาพของคนให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงในด้านทางกาย ใจ สังคม และปัญญา เพราะฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลศรีสาคร จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
ข้อที่ 3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาถตำบล
ข้อที่ 4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ขั้นตอนการวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างในวาระการประชุม จำนวนคณะกรรมการและคณะทำงานที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ - กำหนดร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ - กำหนดวันดำเนินการจำนวน ครั้ง/ปี - จัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ขั้้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุน จำนวน 20 คน
- จัดประชุมอนุกรรมการกองทุนจำนวน 9 คน - จัดทำแผนงานสุขภาพชุมชน/โครงการ/กิจกรรม - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและหาความรู้เพิ่มเติม - เดินทางไปราชการรวมถึงค่าลงทะเบียน
- สามารถจ่ายค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการหรือที่ปรึกษากองทุนฯ และคณะอนุกรรมการ 2. สามารถพัฒนาบริหารจัดการงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 15:21 น.