กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID 19)และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID 19)และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง
รหัสโครงการ 63-L7580-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มีนาคม 2563 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2563
งบประมาณ 70,045.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผุสดี จันทร์มี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (70,045.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เป็นโรคอุบัติใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ของประเทศไทย โดยเกิดจากเชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV ในสมาชิกลำดับที่ 7 ในตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส betacoronavirus , เชื้อมีลำดับยีนมากกว่าร้อยละ 85 ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45, MG772933.1) การก่อ โรคใน มนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่า เป็น zoonotic disease ด้วย รายงานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศจีน โดยเริ่มจากการพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้น และต่อมาได้ทราบว่ามีสาเหตุจากเชื้อไวรัส COVID-19 ที่แพร่จากคนสู่คน วันที่ 11 มกราคม 2563 ผลการตรวจเชื้อไวรัสในระดับรหัสสารพันธุกรรม ระบุว่าเป็น เชื้อไวรัส COVID-19 แม้จะยังไม่มีรายงานสรุปอย่างเป็นทางการ คาดว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกันกับสัตว์ 2 ชนิด คือ งูเห่า และค้างคาวชนิดหนึ่ง” โดยมีจุดเริ่มต้นของผู้ติดเชื้อ เกิดจากคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเล และเนื้อสัตว์แปลกๆ หายาก ที่ถูกจับมาขายในตลาดสดในสภาพที่ยังเป็นๆ สัตว์เหล่านี้มีเชื้อไวรัสถูกขังเกิดความเครียดล้มป่วย และมีการติดเชื้อข้ามไปยังสัตว์อีกสายพันธุ์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เมื่อนำไปบริโภคและติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย อาการคล้ายเป็นไข้หวัด มีน้ำมูกไหล ไอจาม ธรรมดา แต่แตกต่างตรงที่เมื่อถึงระยะหนึ่งปอดจะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ยาลดไข้ทั่วไปไม่สามารถรักษาได้ทันเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ ก็จะกลายเป็นพาหะแพร่ระบาดไปสู่คนอื่นๆ โดยการไอจามรดกัน สัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา ฯลฯ จนทำให้เกิดการป่วยและอาจเสียชีวิตได้ (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563), (Chee Kin, 2020)

    สำหรับรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ลงวันที่ 2 มีนาคม 2563 เวลา 18.30 น. พบมีการแพร่ระบาด 47 ประเทศใน 3 ทวีปทั่วโลก พบผู้ป่วยทั่วโลกทั้งหมด 81,259 คน รักษาหายแล้ว 33,085 คน เสียชีวิต 2,770 คน อัตราตายร้อยละ 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรงดเดินทางในช่วงนี้เด็ดขาด ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดจากคนสู่คนอย่างชัดเจน โดยสถานการณ์ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID 19) ทั้งหมด 43 ราย รักษาหายแล้ว 31 ราย เสียชีวิต 1 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 11 ราย (กรมควบคุมโรค,2563) และมีแนวโน้มที่โรคจะแพร่กระจายมากขึ้น สำหรับจังหวัดสตูล จัดว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้สัญจรทั้งคนไทยและต่างประเทศไปมาจำนวนมาก แต่จากการรายงานยังไม่พบผู้ป่วยโรคดังกล่าว แต่ให้ดำเนินการเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเสี่ยงทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวด้วยระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยคีโม ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มเด็กเล็ก  กลุ่มผู้สูงอายุ  เป็นต้น

        อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขตเทศบาลตำบลฉลุง อ.เมือง จ.สตูล มีความตระหนักและเล็งเห็นถึงการสูญเสียที่เกิดจากการระบาดของโรคโคโรนา 2019 (COVID 19) เป็นอย่างมาก อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาและป้องกันอย่างเร่งด่วน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนทั้ง 4 ชุมชนและเทศบาลตำบลฉลุง จึงได้ประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวและมีมติให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลเป็นผู้ดำเนินการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) และการทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง อนึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะส่งผลให้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลฉลุง มีความเข้มแข็งในการป้องกันโรค ประชาชนมีความรู้และทักษะในการป้องกันโรค และไม่เกิดโรคโคโรนา 2019 (COVID 19) ในพื้นที่อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่ถูกต้อง
ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ด้วยตนเอง

ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ด้วยตนเอง

0.00
3 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) และวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)และวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 408 70,045.00 3 70,045.00
18 - 21 มี.ค. 63 จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) 136 22,390.00 22,390.00
18 - 21 มี.ค. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง 136 11,855.00 11,855.00
18 - 21 มี.ค. 63 รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) แก่ประชาชนในชุมชน 136 35,800.00 35,800.00
  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)     2. จัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง     3. รณรงค์ให้ความรู้และส่งเสริมทักษะในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) แก่ประชาชนในชุมชน     4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)
  2. ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเองได้
    1. ทำให้ประชาชนมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)และวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2563 15:31 น.