กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง
รหัสโครงการ 63-L1485-5-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2563 - 16 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 16 เมษายน 2563
งบประมาณ 47,154.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสมา สันเจริญ นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ตลอดจนประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ มาตรา 54 (7) จัดทำกิจการ ซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข มาตรา 56 (3) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการ ระบาดของโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงดำเนินการจัดทำ “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง” แก่บุคลากรในสังกัดเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำหมู่บ้าน (กำนันและผู้ใหญ่บ้าน) และผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)) กลุ่มสตรี จิตอาสา และประชาชนที่สนใจ โดยมุ่งหวังว่าทุกครัวเรือนสามารถจัดทำหน้ากากอนามัยไว้ใช้เองและสมาชิกในครัวเรือมีหน้ากากอนามัยไว้ป้องกันโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน จำนวน 47,154 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 400 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 20,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 400 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 20,000 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ป้ายโครงการฯ ขนาด 1.22.5150 ม. จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน 450 บาท - แผ่นพับประชาสัมพันธ์ จำนวน 1000 ฉบับ เป็นเงิน 500 บาท - เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 1000 ฉบับ เป็นเงิน 500 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการจัดทำหน้ากากอนามัย เป็นเงิน 3,304 บาท ประกอบด้วย
- ผ้าสาลูสีขาว 40 หลาๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท - กรรไกร 8 ด้ามๆละ 115 บาท เป็นเงิน 920 บาท - เข็มเย็บผ้า 12 ซองๆละ 12 บาท เป็นเงิน 144 บาท - ด้ายยาว 12 หลอดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 180 บาท - ยางยืด 12 แพ็คๆละ 55 บาท เป็นเงิน 660 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีทีมวิทยากร หรือทีมครู ก. จาก“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง” แก่บุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน (กำนันและผู้ใหญ่บ้าน) และผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)) กลุ่มสตรี จิตอาสา และประชาชนที่สนใจ
  2. ทีมวิทยากร หรือทีมครู ก. มีความรู้และทักษะในการจัดทำหน้ากากอนามัยไว้ใช้เองในครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนสามารถสอนวิธีการจัดทำหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนที่สนใจ
  3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเอง
  4. เพื่อกระตุ้นให้แต่ละพื้นที่ตระหนักเห็นความสำคัญ และร่วมกันป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  5. เกิดการประสานงาน และความร่วมมือที่ดีต่อกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2563 12:47 น.