โครงการสตรีไทยไร้มะเร็ง ตำบลบาเจาะ ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีไทยไร้มะเร็ง ตำบลบาเจาะ ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2488-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลบาเจาะ |
วันที่อนุมัติ | 4 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสงัด นุ้ยพริ้ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.514,101.636place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับ 3 ของไทย มีคนตายจากมะเร็งวันละ 160 คน และตรวจพบเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 64,000 ราย/ปี เสียชีวิตประมาณ 30,000 ราย มะเร็งที่พบมาก ได้แก่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยมากเป็นอันดับที่ 1 และ 5 ตามลำดับ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2560-2561) พบว่าผู้ป่วยส่วนมากมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคลุกลามแล้ว การรักษาเป็นไปได้ยาก ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อปัญหาทางสังคมและครอบครัวมากมาย แต่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบในระยะแรก ร้อยละ 30-40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง หากได้รับการคัดกรองที่เหมาะสม จะสามารถป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือ 2-3 ปี เมื่อผลการตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง 3 ปีติดต่อกัน ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นประชาชน กลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ ความเข้าใจกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นความสำคัญก็จะช่วยลดอัตราป่วยตายให้ลดลง จากการดำเนินงานของ รพ.บาเจาะ ในปี 2561 และ 2562 พบว่ากลุ่มหญิงอายุ 30-60 ปีรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 9.28 และ 12.05 ของกลุ่มเป้าหมาย ตามลำดับ จากเป้าหมายร้อยละ 20 กำหนดให้สตรีอายุ 30-60 ปีทุกคนต้องตรวจคัดกรอง 1 ครั้งในรอบ 5 ปี ส่วนการคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ร้อยละ 95.16 และ 97.97 พบก้อนผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง 1 ราย และได้ส่งต่อเพื่อการรักษา ปัญหาที่พบในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ยังมีทัศนคติไม่ถูกต้องและไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคให้ความสำคัญการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองน้อย และขาดทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง อสม.ขาดการพัฒนาศักยภาพการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมตรวจ ซึ่งพื้นที่หมู่ 3 ,5 และ 7 มีพื้นที่กว้าง มุ่งในเรื่องปากท้องมากกว่าการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้การดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพต้องมีการออกรณรงค์ในการให้ความรู้พร้อมทั้งชักชวนให้กลุ่มเป้าหมายรับการตรวจคัดกรองให้ครอบคลุม จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ดีตามบริบทของพื้นที่ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการเฝ้าระวังให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอันส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 10,000.00 | 1 | 10,000.00 | 0.00 | |
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | รณรงค์การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม | 100 | 10,000.00 | ✔ | 10,000.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 100 | 10,000.00 | 1 | 10,000.00 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับ อสม. และแกนนำ ในพื้นที่รับผิดชอบ
- สำรวจหญิงอายุ 30- 70 ปี เพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และหญิงอายุ
- จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุกร่วมกับ อสม. เดือนละ 1 ครั้ง
- ประสาน อสม.ในการค้นหาสมาชิกในครอบครัวผู้นำศาสนาเพื่อร่วมโครงการ
- จัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งตั้งรับและเชิงรุก
- แจ้งผลการตรวจคัดกรองให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงทางโทรศัพท์ จดหมาย และผ่าน อสม.
- ส่งพบแพทย์ต่อเพื่อรักษาในรายที่เป็นโรค
- ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ที่มีผลตรวจผิดปกติแต่ไม่สามารถไปตรวจต่อได้
- ส่งผู้ป่วยที่ต้องติดตามต่อเนื่องให้ผู้รับผิดชอบงานเยี่ยมบ้าน
- หญิงอายุ 30 - 60 ปี รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และหญิงอายุ 30 - 70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
- หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการรับบริการตรวจคัดกรองปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2563 15:25 น.