โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน |
รหัสโครงการ | 63-L2488-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลบาเจาะ |
วันที่อนุมัติ | 4 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 28,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนอร์มาห์ ไชยลาภ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.514,101.636place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต จำนวนผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการดูแลจากผู้ดูแล (Caregiver) เพิ่มมากขึ้นด้วยสาเหตุและปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุยืนยาวขึ้น (ด้วยสุขภาพที่ย่ำแย่) โรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่ม จำนวนอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นทำให้มีผู้พิการสูงขึ้น การเกิดอัมพฤกษ์และอัมพาตจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน โรคมะเร็งรวมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิต เป็นต้น. ผู้ดูแลซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติหรือแม้กระทั่งเพื่อนๆ นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้โดยเฉพาะขณะอยู่ที่บ้าน สุขภาพของผู้ดูแล (Caregiver's health) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึง เพราะหากผู้ดูแลเหล่านี้ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ จนเกิดความเหนื่อยล้าจากการดูแล (Caregiver burden) มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ดูแลเกิดความเจ็บป่วยตามมา เช่น เครียดเรื้อรัง ซึมเศร้า ขาดการดูแลโรคประจำตัวของตนเอง นานไปอาจสะสมจนล้าเกินกำลังและไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อีกต่อไป (Caregiver burnout จากการลงเยี่ยมบ้าน ของงานเยี่ยมบ้าน โรงพยาบาลบาเจาะ พบว่า มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการติดตาม ดูแลอย่างต่อเนื่อง จำนวน 20 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยติดเตียง 1 ราย ผู้ป่วยติดบ้าน 13 ราย ผุ้ป่วยมะเร็ง 2 ราย และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2 ราย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีผู้ดูแลหลักเป็นคนในครอบครัว และเหล่าเพื่อนบ้าน พบว่ากลุ่มผู้ดูแลยังขาดทักษะในการดูแลเบื้องต้น เช่นการทำแผล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อผู้ป่วย ทำให้มีอาการที่แย่ลง และกำลังใของผู้ดูแลท้อถอย หรือผู้ดูแลมีความเครียดเกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านจึงยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ การขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาลบาเจาะ เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ( caregiver ) ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ care giver. จิตอาสา, ผู้นำชุมชน, อสม. ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปดูแลญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 40 | 28,600.00 | 3 | 28,600.00 | 0.00 | |
1 ก.พ. 63 - 30 เม.ย. 63 | จัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน | 20 | 15,600.00 | ✔ | 15,600.00 | 0.00 | |
1 ก.พ. 63 - 30 เม.ย. 63 | เยี่ยมบ้าน ทำแผนการดูแลผู้ป่วยรายกรณี (careplan) | 20 | 3,000.00 | ✔ | 3,000.00 | 0.00 | |
1 ก.พ. 63 - 30 เม.ย. 63 | จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเยี่ยมบ้าน | 0 | 10,000.00 | ✔ | 10,000.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 40 | 28,600.00 | 3 | 28,600.00 | 0.00 |
- สำรวจข้อมูลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในความรับผิดชอบเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง /ผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน
- คัดเลือกญาติที่ดูแลผู้ป่วย อาสาสมัครที่รับผิดชอบผู้ป่วย จิตอาสา เพื่อพัฒนาเป็น care giver
- จัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ภาคทฤษฎี 2 วัน ภาคปฏิบัติ 2 วัน
- ผู้ผ่านการอบรมลงปฏิบัติงานเยี่ยมบ้าน และทำ care plan
- จัดซื้ออุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้าน
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมกับการคืนข้อมูลลงสู่ชุมชน
- ติดตาม สรุปและประเมินผลโครงการ
- care giver อสม.และกลุ่มจิตอาสามีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงและผู้พิการ ร่วมกันวางแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล
- ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการติดตามเยี่ยมของ อสม.และจิตอาสา
- ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่ติดเตียงสามารถกลับมาเป็นติดบ้านได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2563 10:57 น.