กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใกล้บ้าน ใกล้ใจ ร่วมใส่ใจดูแลสุขภาพโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 63-L8302-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลอาซิ อับดุลรอมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคกลุ่ม Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดและสมอง นับเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฎิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข     สถานการณ์โรคเรื้อรังจากกลุ่มโรคเมตาบอลิกเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกสำหรับโรงพยาบาลพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล จากผลการคัดกรองในกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป(เฉพาะเขต เทศบาลตำบลมะรือโบตก ส่วน รพ.สต.บ้านสะโล) ทั้งหมด ๙๕๒ คน คัดกรองได้ ๙๔๕ คน ร้อยละ ๙๙.๒๖  ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวาน ๒๘ คน มีภาวะเสี่ยงเบาหวาน ๔๘ คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ๑๐๔ คน มีภาวะเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง ๑๓๑ คน ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน ๖๓ คน จากข้อมูลแสดงถึงแนวโน้มความรุนแรงที่เป็นอันตรายเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล ได้ดำเนินการคัดกรองภาวะสุขภาพประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในปี ๒๕๖๒ พบว่า ประชากรมีระดับความเสี่ยงสูงที่จะเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่นกัน การขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการป้องกันและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโรคและผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น กอปรกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนหนึ่งขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องและขาดยาไปทำให้ไม่อยู่ในระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยมากแล้วไม่สะดวกในการเดินทาง ไม่มีใครนำพาไปรับยา ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ รพ.สต.บ้านสะโล มีความพยามที่จะนำกลุ่มเหล่านี้ให้อยู่ในระบบการดุแลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการใกล้บ้าน ใกล้ใจ ร่วมใส่ใจดูแลสุขภาพโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๖๓ นี้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,950.00 3 19,950.00
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการออกเสริมทักษะการเรียนรู้ดูแลตนเองให้กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรัง (ร้อยละ 40 ของกลุ่มเป้าหมาย) - กิจกรรมมหกรรมสุขภาพ NCD ดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังแบบครบวงจร 0 8,400.00 8,400.00
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 ป้ายโครงการ 0 750.00 750.00
17 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฝึกทักษะการเรียนรู้ เชิงปฏิบัติการสุขภาพตามแบบ ๓อ. ๑ส. - กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการชุมชน เยี่ยมผู้ป่วย เรื้อรัง ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ชุมชนช่วยได้ 0 10,800.00 10,800.00

ขั้นที่ ๑ ก่อนการดำเนินการ ๑. ประชุมกลุ่มเพื่อทำแผนงานและจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ๓. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  ๕. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านภาคีเครือข่าย
๖. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินงานตามโครงการ ๑. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ๒. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองในกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ ๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น เทศบาล ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
๔. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ๕. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน 6. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ   7. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการออกเสริมทักษะการเรียนรู้ดูแลตนเองให้กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรัง   8. กิจกรรมมหกรรมสุขภาพ NCD ดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังแบบครบวงจร
    - ตรวจเลือดจาก จนท. รพ.ระแงะ     - ตรวจตา จนท.ระแงะ     - ตรวจฟันและเท้า จนท. รพ.สต.บ้านสะโล     - ตรวจสุขภาพและวินิจฉัย แพทย์จาก รพ.ระแงะ     - จ่ายยา จาก เภสัชกร รพ.ระแงะ   9. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฝึกทักษะการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการสุขภาพตามแบบ ๓อ. ๑ส. ในกลุ่มเสี่ยง
10.กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการชุมชน เยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วย ติดบ้าน ติดเตียง ชุมชนช่วยได้ ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑. ประเมินผล สรุปการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หลังเข้าร่วมโครงการ ๖ เดือน บันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS
๒. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรคเรื้อรัง ๒. ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม ๓. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคเรื้อรัง
๔. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายแข็งแรงจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ในที่สุด ๕.  ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าสู่ระบบการดูแลที่ถูกต้องและไม่มีการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2563 14:37 น.