กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห่วงใยหญิงมีครรภ์ ลดภาวะซีด ฝากให้ทันก่อน ๑๒ สัปดาห์
รหัสโครงการ 63-L8302-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลอาซิ อับดุลรอมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)
19.05

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้มีการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบให้มีคุณภาพตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี 2560-2569 กระทรวงสาธารณสุขได้สอดรับยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้สำนักงานสาธารณสุขทุกได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นแหล่งสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานได้มีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง นำซ่อม โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในงานอนามัยแม่และเด็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสได้นโยบายในการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ จึงได้เน้นหนักการแก้ไขภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ และ ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ ๑๐ เพราะได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และการป้องกันมารดาตายและทารกตายปริกำเนิดเป็นแนวทางสำคัญของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมทั้งให้สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับพัฒนาระบบบริการฯให้ได้มาตรฐานและการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กเชิงรุกอย่างมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสร้างเด็กไทย “แข็งแรง เป็นคนดี มีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์” เป้าประสงค์ ๑. ปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มแม่และเด็กแรกเกิด-๕ ปี ได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์อย่าง ครอบคลุม ทั่วถึงและเข้าถึงบริการอย่างเสมอภาค ๒. สร้างระบบในการดูแลสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กแรกเกิด – ๕ ปีอย่างมีคุณภาพและบูรณาการระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน เพื่อให้แม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย เด็กเติบโต พัฒนาการสมวัย การดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น โดยเฉพาะซีดที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด
จากการดำเนินการงานอนามัยแม่และเด็กในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะโล อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ในปี ๒๕๖2 ยังเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการแก้ไขในลำดับต้นเนื่องจาก การมีภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์อยู่สูงมาก ภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 19.05 ของหญิงมีครรภ์ทั้งหมด (เขตเทศบาลมะรือโบตก)ซึ่งเกินจากเกณฑ์ และส่งผลต่อภาวะซีดในหญิงมีครรภ์แล้วจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ด้วยทำให้เด็กเกิดมาไม่สมบูรณ์ได้
ดังนั้นเพื่อทำการแก้ไขภาวะซีดดังกล่าว ตั้งแต่ระหว่างตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด ทางรพ.สต.บ้านสะโล จึงมีแนวคิดที่แก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ครบถ้วนทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

19.05
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 จัดกิจกรรม Mobile Clinic 0 6,000.00 6,000.00
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม.กับการเยี่ยมเยียนหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด 0 5,300.00 5,300.00
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมสาธิตอาหารหญิงมีครรภ์ป้องกันซีดโดยเน้นใช้วัสดุอาหารในชุมชน 0 2,500.00 2,500.00
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 สนับสนุนอาหารเสริมให้แก่หญิงมีครรภ์ที่ HCt. ต่ำกว่า ๓๓ % และเกลือเสริมไอโอดีน 0 5,000.00 5,000.00
16 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 ป้ายโครงการ 0 750.00 750.00
รวม 0 19,550.00 5 19,550.00

กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ชี้แจงการดำเนินการโครงการ กิจกรรมที่ ๒ จัดกิจกรรม Mobile Clinic ตามแผนที่ผู้รับผิดชอบงานวางไว้           - จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่โดยใช้ศาสนานำวิถีชีวิตก่อนและหลังแต่งงานตามแนวศาสนาอิสลาม กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม.กับการเยี่ยมเยียนหญิงมีครรภ์และหลังคลอด
  - งานป้องกันและดูแลการตั้งครรภ์กลุ่มแม่อายุต่ำกว่า ๒๐ปี ในชุมชน
  - ติดตามการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์   - ติดตามการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งคุณภาพ
  - เยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์
  - ดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
  - ส่งเสริมทารกกินนมแม่ ๖ เดือน
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมหญิงตั้งครรภ์ลดภาวะซีด     - จัดกิจกรรมสาธิตอาหารหญิงมีครรภ์ป้องกันซีดโดยเน้นใช้วัสดุอาหารในชุมชน     - เสวนาเรื่องครรภ์เสี่ยง 5 โรค และแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสนับสนุนอาหารเสริมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่ HCT ต่ำกว่า ๓๓ % และเกลือเสริมไอโอดีน
กิจกรรมที่ 6 นิเทศติดตามการปฏิบัติงาน อสม. สายใยรักแห่งครอบครัว ๒ ครั้ง/ปี กิจกรรมที่ 7 รวบรวมรายงานและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพตลอดระยะการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด
  2. ไม่มีภาวะซีดในหญิงมีครรภ์และไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที
  4. ไม่มีอัตราการตายของมารดาและทารก
  5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2563 14:40 น.