กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเคาะประตู ชูวัคซีน
รหัสโครงการ 63-L8302-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.มะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหะมะนาวาวี หะยีอูเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 167 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)
160.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การการระบาดของโรคหัด พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ประกอบกับเด็กจำนวนมากมีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงเนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยในประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดอื่นๆ เช่น เด็กต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มผู้ใหญ่ที่อยู่รวมกันเป็นคนหมู่มากตามสถานประกอบการ ค่ายทหาร เรือนจำ เป็นต้น จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค พบว่าในปี 2561 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันโรคหัดทั่วประเทศ 3,590 ราย เสียชีวิต 23 ราย ส่วนในปี 2562 นี้พบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคหัดแล้ว 301 ราย เสียชีวิต 4 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก พบว่ามีอัตราความครอบคลุมวัคซีนต่ำ โดยปีงบประมาณ 2563 มี เด็กอายุ  0-5ปีจำนวน 336 คน จำนวนที่ไม่มารับบริการตามนัดจำนวน 167 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

160.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,850.00 4 52,850.00
16 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 1.จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน “เจาะประเด็น วิเคราะห์ปัญหา” 0 26,250.00 26,250.00
16 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดกิจกรรม “บือรีตอ วัคซีน” 0 3,750.00 3,750.00
16 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดกิจกรรมให้ความรู้ “บูกอฮาตีอีบู บาเปาะ” 0 18,650.00 18,650.00
16 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดกิจกรรม “อสม.เฉียวชาญวัคซีน” 0 4,200.00 4,200.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. เก็บรวบรวมข้อมูล 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ 3. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
4. จัดกิจกรรมคืนข้อมูลให้ชุมชน “เจาะประเด็น วิเคราะห์ปัญหา” 5. จัดกิจกรรม “เวทีเครือข่าย เวทีวัคซีน” 6. จัดกิจกรรม “วัคซีน หนึ่งในใจผู้นำ” 7. จัดกิจกรรม บือรีตอ วัคซีน 8. จัดกิจกรรม “อีหม่านห่วงใย คุตเบาะวัคซีน” 9. จัดกิจกรรมให้ความรู้ “บูกอฮาตีอีบู บาเปาะ” 10. จัดกิจกรรม “พาหมอเคาะประตู” 11. จัดกิจกรรม “หมอจอมตื้อ ตื้อหนักเพราะรักจริง” 12. จัดกิจกรรม “อสม.เฉียวชาญวัคซีน” 13. จัดกิจกรรม “อสม.โชเฟอร์ฉุกเฉิน” 14. จัดกิจกรรม “ครูอาสา กรองวัคซีน ส่งต่อหมออนามัย” ขั้นที่ 3 สรุปผล
15. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0–5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ 2.บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนเพิ่มขึ้น 3.เครือข่ายมีส่วนร่วมในการติดตามวัคซีนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2563 14:44 น.